เปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทยฯชวนอบรม ทำจริง!!
มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น จัดแถลงข่าว “โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน” และ ดร.แบงค์-พีรพัฒน์ มั่งคั่งหัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม บอกว่า “โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน” คือ ๑.เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ใน ๔ ประเด็นหลัก คือ การลดต้นทุนการผลิตการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มรายได้เกษตรกรการจัดการในเรื่ององค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ๒. เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารท้องถิ่นทั้งทางด้านทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายท้องถิ่น หรือนำไปสู่การจัดทำแหล่งเรียนรู้การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทยตลอดทั้งการจัดหาแหล่งวัสดุการเกษตรคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ๓. เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตภาคเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติและประหยัดค่าใช้จ่าย๔.เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่สนใจการเกษตรในรูปแบบของภาคีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองในระบบกลไกแบบตลาด (จำหน่ายตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง)โดยสามารถเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ในครั้งต่อไป ทางผู้จัดคาดหวังเป้าหมาย 10 รุ่นๆ ละ 100 ท่าน เริ่มรุ่นแรก 23-26 มิ.ย. 2558 ณ สถานที่ในส่วนกลาง กทม. และศูนย์การเรียนรู้ฝึกอบรม ออร์แกนิคแลนด์
นอกจากนี้คุณอำนวย สกุลวัฒนะ ประธานกลุ่มออแกนิคแลนด์เผยที่มาของทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์อย่างน่าสนใจ? โดยรูทปกติ การปลูกพืช โดยเฉพาะ พืชอาหาร คือ กินใช้แปรรูป แล้วก็ส่งออก เกษตรปลูกอะไรมา ทาง ไปคือแบบนี้ และถัดจากนั้น ในปีหน้า 31ธ.ค. 58เราเข้าเออีซีคนทั้งประเทศ เกษตรกรถูกบังคับแข่ง ทั้งที่ไม่อยากแข่งขัน แต่วันนี้บ้านเราเป็นอย่างไรพื้นที่บ้านเราแพงกว่า แรงงานเราสามร้อย เขายังไม่ถึงร้อยแต่เราผลิตสินค้าเหมือนกัน ต้นทุนสู้เขาไม่ได้ จึงต้องเป็นเกษตรอินทรีย์เปลี่ยนฐานการผลิตไปหากลุ่มลูกค้าใหม่ซึ่งความแตกต่าง ข้อดีถ้าบอกว่าไปทำออร์แกนิคต้องมองอย่างคนที่เข้าใจความเป็นออร์แกนิค รักมัน มองในมุมไหน คนทาน หรือ คนทำหรือจะมองในมุมตลาด ผมพูดย้อนกลับ มองในมุมตลาด อเมริกา ยุโรปมีความต้องการสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นทุกปีและเมื่อเทียบกับราคาปกติคือสี่ถึงห้าเท่า ถ้ารัฐมองอย่างเข้าใจแล้วชิฟเกษตรกรส่วนหนึ่ง เราก็จะมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่มีรายได้ อยู่อย่างสบายๆ เหมือนในเกษตรกรในประเทศใหญ่ๆของโลก ยกตังอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์ ข้าวหนึ่งเกวียนสีเป็นข้าวสารหกร้อยกิโล ขายได้เจ็ดถึงแปดพันบาท แต่ถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์หรือไรซ์เบอร์รี่ เกวียนได้เกือบแสน แถมสีแล้วยังมีรำไปทำน้ำมันได้เพิ่มด้วย เกษตรกรต้องเสียอะไรเพิ่มใหม่ เปลี่ยนวิถีชีวิตอะไรหรือไม่? ไม่ มีแค่สองคำ ต้องเข้าใจและยอมรับ ตอนนี้มันคือNeedของตลาดโลกโลกพูดเรื่องสุขภาพ คือเรื่องออร์แกนิค ขณะที่ประเทศไทย นำเข้าวัตถุดิบที่เป็นพิษมากที่สุดอันดับ 2 ของโลกสอดคล้องกับองค์กรอนามัยโลก ที่ระบุว่าเราเป็นอันดับ 5 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งสูงที่สุดฉะนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ภาคใหญ่ต้องสนับสนุน ให้ทำเยอะๆ ออร์แกนิค มีที่ยืนแน่นอน คนไทยตามเก่งแต่ไม่ชอบคิด ถ้านำให้ดี คนตามเยอะ
|