Home / การปลูกพืช / การทำนา / นาข้าว / การทำนา ปลูกข้าว แบบชนิดต่างๆ

การทำนา ปลูกข้าว แบบชนิดต่างๆ

การทำนา_ฟาร์มไทยแลนด์

การทำนา_ฟาร์มไทยแลนด์

การทำนา ปลูกข้าว แบบชนิดต่างๆ
การเลือกพันธุ์ข้าวและช่วงเวลาปลูกข้าวของเกษตรกรหรือชาวนา
พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. พันธุ์ข้าวชนิดไม่ไวแสง เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 4 เดือน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 100 ถัง
เนื่องจากข้าวชนิดนี้มีการตอบสนองต่อปุ๋ยดี ตัวอย่าง เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี, ข้าวพันธุ์ชัยนาท, ข้าวพันธุ์กข. 23, ข้าวพันธุ์เจ้าหอมคลองหลวง, และข้าวพันธุ์เจ้าหอมสุพรรณบุรี
ช่วงเวลาปลูกทำได้ตลอดทั้งปีขึ้นอยู่กับสภาพน้ำ แนะนำให้เขตชลประทานด้วยวิธีทำนาโดยการปักดำ หรือการหว่านข้าวตม อย่างไรก็ดี ขอไม่แนะนำให้ปลูกข้าวติดต่อกันตลอดทั้งปีเป็นเวลานาน
เกษตรกรควรปลูกคั่นด้วยพืชหมุนเวียนบ้างในบางฤดูกาล ซึ่งจะช่วยให้ตัดวงจรศัตรูพืชและรักษาสภาพพื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูกข้าว ให้คงความสมบูรณ์อยู่ตลอด
2. พันธุ์ข้าวชนิดไวแสง โดยเกษตรกรปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าเกษตรกรจะเพาะปลูกเมื่อใด ส่วนมากจะให้ผลผลิตที่ไม่สูงมากนัก
เพราะการปลูกข้าวประเภทนี้ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ตัวอย่าง เช่น ข้าวพันธุ์หอมมะลิ, ข้าวพันธุ์กข.15, ข้าวพันธุ์ขาวตาแห้ง 17, ข้าวพันธุ์เหลืองประทิว 123 , และ ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว 56
ช่วงเวลาในเพาะปลูกที่เหมาะสมต่อเกษตรกรประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม โดยเกษตรกรจะนับวันเก็บเกี่ยวย้อนขึ้นมา โดยให้ข้าวมีอายุ 3 ถึง 4 เดือน *โดยถ้าใช้การวิธีหว่านอายุข้าวจะสั้นลง
โดยทั้งนี้ให้เกษตรกรพิจารณาประกอบกับสภาพน้ำ ในเขตหน้าน้ำฝน ซึ่งอาจใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง หรือปักดำ
วิธีการทำนา การปลูกข้าว
โดยการทำนา การปลูกข้าวทั่วๆไป มี 3 วิธีหลักใหญ่ๆ คือ การทำนาหว่าน การมำนาหยอด และ การทำนาดำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของแต่ละที เช่นพื้นที่สูง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่น้ำลึก และสภาพน้ำ
เช่น เขตช่วงหน้าน้ำฝน เขตอยู่ติดกับชลประทาน สภาพอากาศและสังคม เช่น มีแรงงานในการทำนาหรือไม่มีแรงงาน สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วๆไป เช่น มีเงินทุนที่ใช้ลงทุนมากหรือน้อย
โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1.การทำนาแบบชนิดหว่าน โดยส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด ยากแก่การปักดำข้าว หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี วิธีดังนี้คือ
- หว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย
- หว่านข้าวตม เมื่อข้าวงอกแล้วหว่านเพาะเลย
- 1.1 การหว่านข้าวแห้ง มักใช้วิธีนี้ในเขตนาน้ำฝนหรือในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำไม่ได้ โดยเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไม่ได้เพาะให้งอกเสียก่อน เรียกอีกอย่าง คือ หว่านสำรวย เป็นการหว่านคอยฝนในสภาพดินแห้ง โดยหว่านหลังจากไถแปร เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หว่านไว้จะได้งอก บางกรณีเพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูข้าว จะมีการคราดกลบเมล็ดหลังการหว่าน ซึ่งอาจเรียกว่าหว่านคราดกลบ อีกกรณีหนึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินเปียก คือ มีฝนตกเมื่อไถแปรแล้ว ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามทันทีแล้วคราดกลบ วิธีนี้เรียกว่าหว่านหลังขี้ไถ การหว่านข้าวแห้งจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10 – 15 กก.
- 1.2 การหว่านข้าวตม หรือหว่านข้าวงอก หรือหว่านเพาะเลย เป็นการหว่านโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะให้งอกกล่าว
คือ แช่น้ำสะอาด 12 – 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 30 – 48 ชม. จนเมล็ดข้าวมีรากงอกยาวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร ที่เรียกว่า ตุ่มตา แล้วจึงหว่านลงในพื้นที่นา ที่เกษตรกรได้เตรียมไว้อย่างดี คือ การไถดะ การไถแปร และ การทำเทือกจนราบเรียบ
โดยวิธีนี้บางกรณีในเขตหน้าน้ำฝนจะทำให้ควบคุมปริมาณน้ำได้ยาก
เกษตรกรจำเป็นต้องหว่านเมล็ดข้าวในเทือกที่มีน้ำขัง แต่ในเขตชลประทาน ควรระบายน้ำให้เทือกอยู่ในระดับพอดี โดยให้เกษตรกรสังเกตจากเมล็ดข้าวที่หว่านจะจมในเทือกประมาณครึ่งหนึ่งของเมล็ดแนวนอนเมื่อ ข้าวงอกแล้วค่อยๆระบายน้ำเข้านา แต่ไม่ให้ท่วมยอดต้นข้าว การหว่านน้ำตม ถ้าเตรียมดินดีวัชพืชน้อยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 10-15 กก. แต่ถ้าเตรียมดินไม่ดี มีวัชพืชมากในอัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 15 – 20 กก.
2.การทำนาแบบชนิดหยอด นิยมในเขตพื้นที่สูง เขตพื้นที่ไร่ หรือ ในสภาพนาที่ฝนไม่ค่อยตกต้องตามฤดูกาล โดยใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้มีการเพาะให้งอก หยอดลงไปในหลุมที่เกษตรกรได้เตรียมไว้
โดยใช้จอบ ใช้เสียม หรือ ใช้ไม้กระทุ้ง ใช้เครื่องหยอด หรือ อีกวิธี โดยการโรยเป็นแถว ในร่องที่ทำเตรียมไว้แล้วกลบดินฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หยอดจะงอก ในสภาพไร่หรือที่สูง อาจทำเป็นหลุมลึก 4-5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าวหลุมละ 5-6 เมล็ด ส่วนในที่ราบสูง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถทำร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร นาหยอดจะใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ประมาณ 8-10 กก.
3.การทำนาดำ เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น
- ขั้นตอนการตกกล้า
- ขั้นตอนการปักดำ
ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน
* แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยนี้  ชาวนามีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่นรถดำนา รถปักกล้า
การปักดำจึงไม่ใช่ปัญหาของเกษตรกรอีกต่อไป และ การทำนาแบบปักดำยังเป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชต่างๆ ได้ดีกว่าการทำนา
แบบหว่านเมล็ดอีกด้วย
# ขอบคุณภาพจาก : Bhumi Juntarachart

การทำนา_ฟาร์มไทยแลนด์1

Comments

comments

การทำนา ปลูกข้าว แบบชนิดต่างๆ การเลือกพันธุ์ข้าวและช่วงเวลาปลูกข้าวของเกษตรกรหรือชาวนา พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. พันธุ์ข้าวชนิดไม่ไวแสง เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 4 เดือน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 100 ถัง เนื่องจากข้าวชนิดนี้มีการตอบสนองต่อปุ๋ยดี ตัวอย่าง เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี, ข้าวพันธุ์ชัยนาท, ข้าวพันธุ์กข. 23, ข้าวพันธุ์เจ้าหอมคลองหลวง, และข้าวพันธุ์เจ้าหอมสุพรรณบุรี ช่วงเวลาปลูกทำได้ตลอดทั้งปีขึ้นอยู่กับสภาพน้ำ แนะนำให้เขตชลประทานด้วยวิธีทำนาโดยการปักดำ หรือการหว่านข้าวตม อย่างไรก็ดี ขอไม่แนะนำให้ปลูกข้าวติดต่อกันตลอดทั้งปีเป็นเวลานาน เกษตรกรควรปลูกคั่นด้วยพืชหมุนเวียนบ้างในบางฤดูกาล ซึ่งจะช่วยให้ตัดวงจรศัตรูพืชและรักษาสภาพพื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูกข้าว ให้คงความสมบูรณ์อยู่ตลอด 2. พันธุ์ข้าวชนิดไวแสง โดยเกษตรกรปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าเกษตรกรจะเพาะปลูกเมื่อใด ส่วนมากจะให้ผลผลิตที่ไม่สูงมากนัก เพราะการปลูกข้าวประเภทนี้ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ตัวอย่าง เช่น ข้าวพันธุ์หอมมะลิ, ข้าวพันธุ์กข.15, ข้าวพันธุ์ขาวตาแห้ง 17, ข้าวพันธุ์เหลืองประทิว 123 , และ ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว 56 ช่วงเวลาในเพาะปลูกที่เหมาะสมต่อเกษตรกรประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม โดยเกษตรกรจะนับวันเก็บเกี่ยวย้อนขึ้นมา โดยให้ข้าวมีอายุ 3 ถึง 4 เดือน *โดยถ้าใช้การวิธีหว่านอายุข้าวจะสั้นลง โดยทั้งนี้ให้เกษตรกรพิจารณาประกอบกับสภาพน้ำ ในเขตหน้าน้ำฝน ซึ่งอาจใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง หรือปักดำ วิธีการทำนา การปลูกข้าว โดยการทำนา การปลูกข้าวทั่วๆไป มี 3 วิธีหลักใหญ่ๆ คือ การทำนาหว่าน การมำนาหยอด และ การทำนาดำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของแต่ละที เช่นพื้นที่สูง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่น้ำลึก และสภาพน้ำ เช่น เขตช่วงหน้าน้ำฝน เขตอยู่ติดกับชลประทาน สภาพอากาศและสังคม เช่น มีแรงงานในการทำนาหรือไม่มีแรงงาน สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วๆไป เช่น มีเงินทุนที่ใช้ลงทุนมากหรือน้อย โดยมีรายละเอียดดังนี้…

Review Overview

User Rating: 2.35 ( 4 votes)
0

About Harubiji Pee

Avatar
" วิศวกร จันทร์ ถึง ศุกร์ วันหยุด เป็นเกษตรกร "

Leave a Reply


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง