Home / การเลี้ยงสัตว์ / การเลี้ยงวัว / ทำไมโคขุนต้องโพนยางคำ

ทำไมโคขุนต้องโพนยางคำ

เชื่อว่าชาวเกษตรทุกคนโดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงวัวคงต้องรู้จักชื่อ “โพนยางคำ” เป็นอย่างดี สำหรับคำว่าโพนยางคำนั้น เป็นเพียงชื่อหมู่บ้านๆหนึ่งในจังหวัดสกลนคร เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ดำรงชีวิตตามวิถีชาวเกษตรที่ไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆในจังหวัดทางภาคอีสานของเรา อาชีพหลักๆ ก็ยังคงเป็นทำไร่ ทำนา ทำสวนเป็นส่วนใหญ่  จนเมื่อปี 2523 หมู่บ้านโพนยางคำได้มีการก่อตั้งสหกรณ์การเกษตรโพนยางคำขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชน และทางสหกรณ์ได้มีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงวัวเนื่อเพื่อการบริโภคโดยตรง เรียกกันว่า”โคขุน” ซึ่งพื้นที่อื่นๆก็มีการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อการบริโภคเหมือนกัน ครับ ว่าแต่ทำไมโคขุนโพนยางคำถึงกลายมาเป็นเนื้อคุณภาพดีของเมืองไทย??? เดี๋ยวเรามาวิเคราะห์กันครับ

วัวโพนยางคำ

วัวโพนยางคำ

ก่อนอื่นๆ ขออธิบายคำว่าโคขุนกันซะก่อน!!!  เพราะหลายๆคนยังคิดว่าเป็นชื่อสายพันธ์ของวัวกันอยู่ จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ คำว่าโคขุน หมายความว่า การเลี้ยวัวอย่างดีให้อ้วนท้วนสมบูรณ์ ซึ่งคำว่าโคก็หมายถึงวัวครับ ส่วนคำว่าขุน ไม่ใช่ข้าราชการขั้นสูงในสมัยพ่อขุนรามนะครับ คำว่า “ขุน” เป็นคำภาษาอีสาน หมาถึงการเลี้ยงอย่างดี นั่นเองครับ

วิธีการเลี้ยงโคขุน(ทั่วไป) เอาแบบสั้นๆ พอเข้าใจนะครับ การเลี้ยงโคขุน คือการนำลูกวัวอายุประมาณ 2 ปี เข้าสู่กระบวนการเลี้ยงดูปูเสื่อให้อ้วน เช่น การถ่ายพยาธิ ฉีดวัคซีน และขั้นตอนสำคัญคือ การตอน เพราะการตอนจะทำให้วัวกินอาหารได้เยอะ ไม่ติดสัด ไม่ติดตัวเมีย ทำให้ตัวอ้วนได้เนื้อเร็วครับ

วิธีการเลี้ยงโคขุน(โพนยางคำ) เลือกลูกวัว(*ตัวผู้เท่านั้น)อายุประมาณ 2 ปี (มีฟันน้อยกว่า 6 ซึ่) พันธุ์ผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ชาโรเลย์ส (Charolais) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส เป็นสายพันธุ์หลัก, พันธุ์ซิมเมนทอล (Simmental) ถิ่นกำเนิดประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และพันธุ์ลิมูซีน (Limusin) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส มาผ่านกระบวนการ ถ่ายพยาธิ ฉีดวักซีน และการตอน เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดจากทางสหกรณ์(ราคาถูก), กากน้ำตาล, หญ้าเปียก,หญ้าแห้ง สลับสับเปลี่ยนกันไป (สงสัยกลัวว่าวัวจะเบื่อ) ที่สำคัญมีการอาบน้ำทำความสะอาดวัว และ เปิดเพลงให้วัวฟังอีกด้วย ว่ากันว่าเพลงทำให้วัวอารมณ์ดีว่างั้นนะ

คอกวัว โรงเรือนของโคขุนโพนยางคำ ก็เป็นโรงเรือนทั่วไปไม่ได้มีอะไรพิเศษมากมายครับ มีการปูพื้นด้วยคอนกรีดเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด หลังคาสามารถกันแดดกันฝนได้ 100%  เพื่อไม่ให้วัวป่วยจากการตากแดดตากฝน ซึ่งก็ไม่ต้องสั่งซื้ออุปกรณ์โรงเรือนจากทางหสกรณ์ในราคาแพงเหมือนกับการทำธุรกิจกับบริษัทบางแห่งนะครับ(บริษัทอะไรก็ไม่รู้นะ) แล้วแต่ว่าทางเกษตรกรจะหาสรรหามาได้ ทางสหกรณ์ไม่มีข้อบังคับว่าจะต้องเลี้ยงอย่างน้อยกี่ตัว

การขายโคขุนโพนยางคำ เกษตรกรจะขายวัวให้กับทางสหกรณ์โพนยางคำเพื่อเอาไปเข้ากระบวนการชำแหละซึ่งราคาก็อยู่ราวๆ 40,000-100,000บาท ต่อตัว ระยะเวลาในการเลี้ยใช้เวลาประมาณ 7-12เดือน ขายตามน้ำหนักตัว ต้นทุนลูกวัวอายุ 2 ปีอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท

มาถึงตอนนี้แล้วผมคงไม่ต้องอธิบายกันแล้วก็ได้นะครับว่าทำไมโคขุนโพนยาคำถึงได้เป็นเนื้อวัวที่เรียกได้ว่าเป็นเนื้อวัวที่ดีที่สุดของประเทศไทย เอาเป็นว่า โคขุนโพนยางคำมีการกำหนดคุณภาพ กำหนดมาตรฐานในการเลี้ยง มีการกำหนดสายพันธุ์ที่ดี ประกอบกับทางสหกรณ์มีกระบวนการทำงานที่ดี มีการเอาจริงเอาจังด้านคุณภาพ มีระบบสนับสนุนเกษตรกรแบบพี่แบบน้อง มีการช่วยเหลือที่ดี มีความยืดหยุ่นในการเลี้ยง ทำให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้ง่ายทำกำไรได้สูง จนสามารถผลิตเนื้อวัวได้ในปริมาณที่ต้องการของตลาด

วัวโพนยางคำ

วัวโพนยางคำ

ส่วนราคาขายทางสหกรณ์มีการแยกขายเป็นส่วนๆ ราคาตั้งแต่ หลักพันต่อกิโล จนถึงหลักร้อยต่อกิโลกรัม มีกระบวนการเก็บ รักษาเนื้อวัวที่ดี ทำให้เนื้อโคขุนโพนยางคำเป็นเนื้อที่เนื้อจะมีรสชาติอร่อย หอม เนื้อนุ่ม ชุ่มฉ่ำ ไม่มีกลิ่นเหม็นสาบ และมีลายไขมันแทรกตามมาตรฐานสากล Marbling Score

วัวโพนยางคำ

วัวโพนยางคำ

*มีดอกจันทร์กับเขาด้วยเอาซิครับ เหตุที่ทางสหกรณ์กำหนดให้เลี้ยโคขุนเฉพาะตัวผู้เท่านั้นเป็นเพราะว่า วัวเพศเมียมีไว้เพื่อขยายพันธ์ หากปล่อยให้ขุนวัวเพศเมียกลัวว่าวัวจะสูญพันธุ์นั่นเองครับ

Comments

comments

เชื่อว่าชาวเกษตรทุกคนโดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงวัวคงต้องรู้จักชื่อ "โพนยางคำ" เป็นอย่างดี สำหรับคำว่าโพนยางคำนั้น เป็นเพียงชื่อหมู่บ้านๆหนึ่งในจังหวัดสกลนคร เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ดำรงชีวิตตามวิถีชาวเกษตรที่ไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆในจังหวัดทางภาคอีสานของเรา อาชีพหลักๆ ก็ยังคงเป็นทำไร่ ทำนา ทำสวนเป็นส่วนใหญ่  จนเมื่อปี 2523 หมู่บ้านโพนยางคำได้มีการก่อตั้งสหกรณ์การเกษตรโพนยางคำขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชน และทางสหกรณ์ได้มีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงวัวเนื่อเพื่อการบริโภคโดยตรง เรียกกันว่า"โคขุน" ซึ่งพื้นที่อื่นๆก็มีการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อการบริโภคเหมือนกัน ครับ ว่าแต่ทำไมโคขุนโพนยางคำถึงกลายมาเป็นเนื้อคุณภาพดีของเมืองไทย??? เดี๋ยวเรามาวิเคราะห์กันครับ ก่อนอื่นๆ ขออธิบายคำว่าโคขุนกันซะก่อน!!!  เพราะหลายๆคนยังคิดว่าเป็นชื่อสายพันธ์ของวัวกันอยู่ จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ คำว่าโคขุน หมายความว่า การเลี้ยวัวอย่างดีให้อ้วนท้วนสมบูรณ์ ซึ่งคำว่าโคก็หมายถึงวัวครับ ส่วนคำว่าขุน ไม่ใช่ข้าราชการขั้นสูงในสมัยพ่อขุนรามนะครับ คำว่า "ขุน" เป็นคำภาษาอีสาน หมาถึงการเลี้ยงอย่างดี นั่นเองครับ วิธีการเลี้ยงโคขุน(ทั่วไป) เอาแบบสั้นๆ พอเข้าใจนะครับ การเลี้ยงโคขุน คือการนำลูกวัวอายุประมาณ 2 ปี เข้าสู่กระบวนการเลี้ยงดูปูเสื่อให้อ้วน เช่น การถ่ายพยาธิ ฉีดวัคซีน และขั้นตอนสำคัญคือ การตอน เพราะการตอนจะทำให้วัวกินอาหารได้เยอะ ไม่ติดสัด ไม่ติดตัวเมีย ทำให้ตัวอ้วนได้เนื้อเร็วครับ วิธีการเลี้ยงโคขุน(โพนยางคำ) เลือกลูกวัว(*ตัวผู้เท่านั้น)อายุประมาณ 2 ปี (มีฟันน้อยกว่า 6 ซึ่) พันธุ์ผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ชาโรเลย์ส (Charolais) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส เป็นสายพันธุ์หลัก, พันธุ์ซิมเมนทอล (Simmental) ถิ่นกำเนิดประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และพันธุ์ลิมูซีน (Limusin) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส มาผ่านกระบวนการ ถ่ายพยาธิ ฉีดวักซีน และการตอน เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดจากทางสหกรณ์(ราคาถูก), กากน้ำตาล, หญ้าเปียก,หญ้าแห้ง สลับสับเปลี่ยนกันไป (สงสัยกลัวว่าวัวจะเบื่อ) ที่สำคัญมีการอาบน้ำทำความสะอาดวัว และ เปิดเพลงให้วัวฟังอีกด้วย ว่ากันว่าเพลงทำให้วัวอารมณ์ดีว่างั้นนะ คอกวัว โรงเรือนของโคขุนโพนยางคำ ก็เป็นโรงเรือนทั่วไปไม่ได้มีอะไรพิเศษมากมายครับ มีการปูพื้นด้วยคอนกรีดเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด หลังคาสามารถกันแดดกันฝนได้ 100%  เพื่อไม่ให้วัวป่วยจากการตากแดดตากฝน ซึ่งก็ไม่ต้องสั่งซื้ออุปกรณ์โรงเรือนจากทางหสกรณ์ในราคาแพงเหมือนกับการทำธุรกิจกับบริษัทบางแห่งนะครับ(บริษัทอะไรก็ไม่รู้นะ) แล้วแต่ว่าทางเกษตรกรจะหาสรรหามาได้ ทางสหกรณ์ไม่มีข้อบังคับว่าจะต้องเลี้ยงอย่างน้อยกี่ตัว การขายโคขุนโพนยางคำ…

Review Overview

User Rating: 4.83 ( 2 votes)
0

About Harubiji Pee

Avatar
" วิศวกร จันทร์ ถึง ศุกร์ วันหยุด เป็นเกษตรกร "

Leave a Reply


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง