วันนี้คุณทานไข่แล้วหรือยัง ทำไมเราจึงถามแบบนี้ เพราะไข่เป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่มีความจำเป็นของเราในแต่ละวัน ไข่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของการผลิตอาหารมากมายหรืออาจจะทานโดยตรงทั้งแบบดิบและแบบสุกแต่แนะนำให้ทานแบบสุขดีกว่านะครับ วันนี้มาแนะนำท่านผุ้อ่านว่าด้วยเรื่องของไข่เป็ดแต่ก่อนที่จะมาเป็นไขเป็ดนั้น ตั้งต้นมาตั้งแต่ฟาร์มเป็ดไข่ ที่แบ่งออกเป็นสองแบบหลักๆนั่นก็คือ
1.ฟาร์มเป็ดไข่แบบไล่ทุ่ง แบบนี้เป็นการเลี้ยงแบบวิถีเดิมของเกษตรกรในต่างจังหวัดที่มีพื้นที่มาก อาจจะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งให้ออกหากินเองตามธรรมชาติ ว่ากันว่าการเลี้ยงแบบนี้เป็ดจะแข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีสารพิษจะทำให้ไข่ดกและไม่ค่อยมีกลิ่นคาว แต่ยังไงก็แล้วแต่ก็ต้องมีโรงเรือนเล็กให้เป็ดวางไข่หรืออาจจะต้องเก็บไขเองตามธรรมชาติที่เป็ดเหล่านี้ไปวางไข่ไว้
2.ฟาร์มเป็ดไข่แบบโรงเรือน เน้นการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าแต่ก็ได้ผลคุ้มค่ากว่าเช่นเดียวกันเพราะมีระบบการบริหารจัดการที่เป็นระบบกว่า อาหารที่ใช้ก็เป็นอาหารสำเร็จรูปแบบเม็ดที่มีดารศึกษาวิจัยจากผู้ผลิตว่ามีสารอาหารครบถ้วน และข้อดีอีกอย่างนั่นก็คือมีการควบคุมดูแลเรื่องความสะอาด โรคติดต่อได้ง่ายและโอกาสเกิดน้อยมาก
เรารู้ประเภทของการเลี้ยงมาแล้วมาดูเรื่องของการคัดเลือกสายพันธ์เพื่อจะเป็นแม่พันธ์ในฟาร์มเป็ดไข่ของเรากันบ้างนะครับเนื่องจากแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันการที่จะทำฟาร์มเป็ดไขก็เลยต้องพิถีพิถันหากท่านเป็นผู้เลี้ยงที่ได้รับการสนับสนุนจากนายทุนหรือบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่หลายเจ้าในเมืองไทยที่ผลิตถึงขนาดส่งขายออกนอกประเทศท่านไม่ต้องห่วงเรื่องสายพันธ์เพราะเค้าจะคัดพันธ์ลูกเป็ดมาให้ท่านเองท่านมีแค่หน้าที่ที่ดูแลให้ออกไข่ตามปริมาณที่บริษัทต้องการและรอรับรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำแต่ไม่ได้ง่ายอย่างปอกกล้วยเข้าปากการดูแลต้องอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่จากบริษัทนั้นที่จะมาตรวจเป็นประจำและท่านจะต้องหาเจ้าหน้าที่หรือสัตวแพทย์มาประจำฟาร์มด้วยเพื่อที่จะตรวจเช็คและควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามมาตรฐาน
สิ่งน่ารู้ที่หลายท่านอาจจะไม่รู้ มูลจากเป็ดเหล่านี้ยังก่อให้เกิดรายได้อีกหลายทาง อย่างเช่น ขายเป็นปุ๋ย ผลิตไบโอแก๊สหรือที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่าแก็สชีวภาพ สามารถผลิตเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงเรือนได้โดยไม่ต้องใช้ไฟจากภายนอกได้เลยหากว่าควบคุมประสิทธิภาพได้ดีนะครับ ใครสนใจลองหาคู่มือการผลิตดูนะครับประยุกต์ใช้ได้จากมูลสัตว์อื่นๆที่ทั่วไปทำกัน….