ตลาดเกษตร

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 5551|ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เรื่องน่ารู้ เเต่อาจไม่รู้เกี่ยวกับ กระเจี๊ยบเขียว

[คัดลอกลิงก์]

3

กระทู้

4

โพสต์

48

เครดิต

ผู้ดูแลบอร์ด

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

เครดิต
48


# เป็นพืชที่มีสรรพคุณด้านสมุนไพรในฝักมีสารเมือกพวกเพ็กติน และกัม ที่ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ฝักของกระเจี๊ยบเขียวข้างในมียางเมือกหุ้มเมล็ด คนสมัยก่อนนิยมเอาไปต้ม หรือ ต้มราดกะทิเพื่อดึงวิตามินที่ละลายในไขมันได้ให้ออกมาจากผักให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นพืชที่มีสรรพคุณด้านสมุนไพรในฝักมีสารเมือกพวกเพ็กติน  และกัม  ที่ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้  มีสรรพคุณในการรักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง ยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้.“



70

กระทู้

82

โพสต์

1093

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
1093
ขอเสริม สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว ให้นะครับ
พอดีเจอมาจากเว็บ frynn.com

    - ฝักกระเจี๊ยบเขียวมีเส้นใยอยู่มาก จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ โดยช่วยรักษาระดับการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ใหญ่ให้คงที่ กระเจี๊ยบเขียวจึงเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ผล)
    - สรรพคุณกระเจี๊ยบเขียว ใช้เป็นยาบำรุงสมอง (ผล)
    - ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาความดันให้เป็นปกติ (ผล)
    - สรรพคุณกระเจี๊ยบ ผลช่วยแก้อาการหวัด รักษาหวัด (ผล)
    - ช่วยป้องกันอาหารหลอดเลือดตีบตัน (ผล)
    - กระเจี๊ยบ สรรพคุณของใบช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
    - ใบกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยแก้โรคปากนกกระจอก (ใบ)
    - เส้นใยของกระเจี๊ยบยังช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่กับน้ำดี ซึ่งจะช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลได้ คล้ายกับการกินยาลดไขมันและคอเลสเตอรอล (สแตติน) (ผล)
    - ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยลดคอเลสเตอรอล โดยเส้นใยของกระเจี๊ยบเป็นตัวช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ โดยการจับกับน้ำดีซึ่งมักจับสารพิษที่ร่างกายต้องการขับถ่ายที่ถูกส่งมาจากตับ และสารเมือกในฝักยังช่วยจับสารพิษเหล่านี้ ซึ่งการจับกับน้ำดีนี้จะเกิดในลำไส้และขับออกมาทางอุจจาระ ทำให้ไม่เหลือสารพิษตกค้างอยู่ในลำไส้ (ผล)
    - ผักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล)
    - การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำ จะช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เยื้อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย จึงช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่อง จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี และช่วยในการทำงานของระบบดูดซีมสารอาหาร ช่วยสนับสนุนการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (โพรไบโอติกแบคทีเรีย) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ผล)
    - ในฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารที่เป็นเมือกจำพวกเพกทิน (Pectin) และกัม (Gum) ที่มีคุณสมบัติช่วยในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ โดยป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามของแผลได้เป็นอย่างดี (ได้ผลดีเท่า ๆ กับยา Misoprotol) และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (ผล)
    - เมือกลื่นในฝักกระเจี๊ยบ ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะไม่เกิดการระคายเคือง ช่วยทำให้อาหารลำไส้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (ผล)
    - กระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณช่วยแก้บิด ด้วยการใช้ผลแก่นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับน้ำดื่มแก้อาการ (ผล)
    - ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ หรือในผู้ป่วยที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ (ผล)
    - ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อนกลับ ด้วยการนำฝักกระเจี๊ยบมาต้มในน้ำเกลือแล้วใช้กินแก้อาการ (ผล)
    - ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด (สาเหตุมาจากการได้รับตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในเนื้อดิบ เช่น หมู่ เป็ด ไก่ กบ กุ้ง เนื้อปลา เป็นต้น) ด้วยการรับประทานฝักกระเจี๊ยบติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน แต่สำหรับบางรายต้องรับประทานเป็นเดือนจึงจะหาย (ผล)
    - สรรพคุณของกระเจี๊ยบ ช่วยแก้อาการขัดเบา (ในอินเดีย) (ผล)
    - ในตำรายาแผนโบราณของจีน มีการนำราก เมล็ด และดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศอินเดียนั้นจะใช้ฝักนำมาต้มกับน้ำดื่มเพื่อช่วยขับปัสสาวะเมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเมื่อปัสสาวะขัด (ผล,ราก,เมล็ด,ดอก)
    - ในอินเดียใช้ผลกระเจี๊ยบเป็นยารักษาโรคหนองใน (ผล)
    - รากนำมาต้มน้ำเพื่อใช้รักษาโรคซิฟิลิส (Syphilis) (ราก)
    - การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงตับได้ (ผล)
    - สรรพคุณดอกกระเจี๊ยบ สามารถนำมาตำใช้พอกรักษาฝีได้ (ดอก)
    - ในเนปาลนำน้ำคั้นจากรากมาใช้เพื่อล้างแผลและแผลพุพอง (ราก)
    - ยางจากผลสด ใช้เป็นยารักษาแผลสดเมื่อถูกของมีคมบาด หรือใช้ยางกระเจี๊ยบทาแผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และไม่ทำให้เกิดแผลเป็น (ยางจากผล)
    - ในอินเดียมีการใช้เมล็ดนำมาบดผสมกับนมใช้ทาผิวหนังเพื่อแก้อาการคัน (เมล็ด)
    - ใบกระเจี๊ยบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นนำมาประคบเพื่อลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนั่งชุ่มชื้นไม่แตกแห้ง (ใบ)
    - ใช้เป็นยาบำรุงข้อกระดูก โดยมีการเล่ากันว่าชาวชุมชนมุสลิมทางภาคใต้สมัยก่อน จะนิยมกินผักที่เป็นเมือก เช่นผักกูด และกระเจี๊ยบเขียว เพื่อช่วยเพิ่มไขมันหรือเมือกให้ข้อกระดูก โดยเชื่อว่าจะทำให้หัวเข่าหรือข้อต่อกระดูก มีน้ำเมือกมากขึ้นทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บและช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น เสมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง (ผล)
    - ผลกระเจี๊ยบมีเมือกลื่นที่ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งแตก บางคนจึงนิยมนำผลอ่อนมาพอกผิวเมื่อมีอาการแสบร้อน (ผล)
    - การรับประทานกระเจี๊ยบเป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ และช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากมีโฟเลตสูง โดยฝักแห้ง 40 ฝัก จะเทียบเท่ากับปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (ผล)
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

กระทู้ล่าสุด
  1. 25ทาร์ทาริกแอซิด, กรดทาร์ทาริก, Tartaric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  2. 30ฟอสฟอริกแอซิด, กรดฟอสฟอริก, Phosphoric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  3. 27มาลิกแอซิด, กรดมาลิก, Malic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  4. 26ฟูมาริกแอซิด, กรดฟูมาริก, Fumaric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  5. 32ซิตริกแอซิด, กรดซิตริก, กรดมะนาว, Citric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  6. 30แอสคอร์บิกแอซิด, กรดแอสคอร์บิก, Ascorbic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  7. 31อะซีติกแอซิด, กรดอะซีติก, Acetic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  8. 163ขี้เถ้าแกลบดำ
  9. 161ตาชั่ง รถบรรทุก6ล้อ หน้าเหล็ก ขนาด 2.5x5เมตร น้ำหนัก20ตัน อุปกรณ์ครบ จอ เครื่องปริ้นท์ ครบ พร้อมใช้งาน ราคา 99,000บาท โทร : 094-7899445 www.TractorM.com
  10. 164ตัดหญ้าสะพายหลัง KAWA มือสองญี่ปุ่น สภาพสวย เครื่องดี แรง ไม่จุกจิกไม่พังง่ายเหมือนของใหม่ เช็คให้พร้อมใช้งาน ราคา 3,500บาท รวมส่งฟรี โทร : 094-7899445 www.TractorM.com

www.farmthailand.com

GMT+7, 2024-11-22 14:14 , Processed in 0.059060 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140101, Rev.29

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้