|
กลุ่มงานวิจัยปุ๋ยเคยนำแร่จากแหล่งนี้มาทำการทดลองทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริก สามารถทำเป็นปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตที่มีคุณสมบัติที่ดีได้ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อจำกับอยู่ที่ คุณภาพแปรปรวน มีปริมาณและแหล่งเล็ก ๆ กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ไม่สามารถนำมาพัฒนาอุตสาหกรรมปุ๋ยฟอสเฟตได้ สินแร่กัวโนฟอสเฟตนี้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ให้ความเห็นว่า การนำไปใช้ในท้องถิ่นน่าคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงกว่าการพัฒนา เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยเคมีฟอสเฟตอื่น ๆ การใช้กัวโนฟอสเฟตชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ในดินกรด และควรใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี (หรือใช้เป็น Filler ในการปั้นเม็ดปุ๋ยเคมี) ไม่เหมาะสม เนื่องจากมีสมบัติเป็นด่างเมื่อผมสมกับแม่ปุ๋ยไนโตรเจนจะทำให้เกิด การสูญเสีย ไนโตรเจนในรูปของก๊าซแอมโมเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมปุ๋ยกัวโนฟอสเฟตกับยูเรีย ปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยผสมจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อระยะเวลาในการเก็บ รักษานานขึ้น
มูลค้างคาวมีข้อดีที่น่าสนใจหลายประการคือ
1. มีปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชสูงกว่าปุ๋ยชนิดอื่น ในบรรดาปุ๋ยอินทรีย์โดยทั้วไป และสูงทัดเทียมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์
2. ผลการใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวนอกจากจะให้ธาตุอาหารพืชที่พอเพียงแล้ว ยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินบางอย่างให้ดีขึ้น เช่น ทำให้ดินร่วนไม่เกาะกันแน่นเมื่อแข็งตัว ความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ในระดับที่พอเหมาะกับความเจริญเติบโตของพืช
3. การใช้มูลค้างคาวอยู่เสมอย่อมจะทำให้เชื้อแบคทีเรียในดินทำงานดีขึ้น เป็นประโยชน์แก่พืชทางอ้อมในการสลายตัวของอินทรียสาร เปลี่ยนเป็นธาตุอาหารพืชได้ง่ายขึ้น
4. ปัญหาเรื่องการขุดธาตุอาหารใช้ปริมาณน้อยอื่น ๆ หมดไป ธาตุอาหารเสริมเหล่านี้ได้แก่ ธาตุแมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน และโมลิบเดมั่ม จะมีอยู่เพียงพอในปุ๋ยมูลค้างคาว
5. การใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวสม่ำเสมอติดต่อกันย่อมจะทำให้มีผลตกค้างของปุ๋ยเหลือ สะสมอยู่ในดินและค่อย ๆ สลายเป็นอาหารพืชภายหลังได้อีกด้วย
6. มูลค้างคาวเป็นมูลสัตว์ที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส เนื่องจากเป็นสัตว์กินแมลง เหมาะสำหรับใส่ไม้ผลที่ให้กลิ่นหอม เช่น ทุเรียน ลื้นจี่ กล้วยหอม ลำไย มังคุด ละมุด ขนุน มะม่วง เป็นต้น
7. มีการใช้มูลค้างคาวละลายน้ำ แล้วนำมัดต้นกล้าข้าวไปแช่ให้ท่วมรากก่อนนำไปปักดำเป็นวิธีที่ง่าย และสะดวก ในการให้ปุ๋ยฟอสเฟตแก่ข้าว ในการทำนาใกล้ถ้ำ มูลค้างคาวโดยเฉพาะที่ภาคใต้
8. อัตราการใช้มูลค้างคาว ควรใช้ให้น้อยกว่าปุ๋ยคอกหรือจะใช้วิธีผสมมูลค้างคาวร่วมกับปุ๋ยคอกอื่น ๆ และเศษซากพืชที่ผุพังเน่าเปื่อยแล้ว เพื่อลดความเข้มข้น ให้น้อยลงก่อนนำไปใช้
มูลค้างคาวมีข้อดี หลายประการ กล่าวได้ดังนี้
1. มีธาตุอาหารครบทั้ง 13 ชนิด ที่พืชต้องการจากทางดิน คือ ไนโตรเจน ,ฟอสฟอรัส , โปแตสเซี่ยม , แคลเซี่ยม, แมกนีเซี่ยม , กำมะถัน ,
โบรอน , เหล็ก, แมงกานีส , สังกะสี , โมลิบดินั่ม , ทองแดง และ คลอรีน
2. ให้ธาตุฟอสฟอรัสมากเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงมีบทบาทในการเร่งให้พืชติดดอกออกผลได้ดีขึ้น เหมาะเป็นพิเศษกับไม้ดอก และ สวนผลไม้
3. การใช้มูลค้างคาวอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการสลายตัวของอินทรีย์สาร ธาตุอาหารพืช ที่ถูกดินยึดไว้ละลายกลับออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้ง
4. ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน กระตุ้นการแตกราก ทำให้ การดูดธาตุอาหาร และ น้ำ จากดินเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการเจริญเติบโตต่อพืช จึงเหมาะกับพืชทุกชนิด
5. เสริมสร้างผนังเซลล์ของพืช ทำให้ขั้วเหนียวบำรุงต้นให้เจริญเติบโต และช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย |
|