ตลาดเกษตร

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 4498|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ู้ตู้ฟักไข่ อัตโนมัติ

[คัดลอกลิงก์]

2

กระทู้

2

โพสต์

15

เครดิต

Beginner

Rank: 1

เครดิต
15
ตู้ฟักไข่http://www.xn--12cc9cxb8ezbye7ad.com/https://www.facebook.com/toofukkai/?ref=hl


ตู้ฟักไข่
ตราไก่แชมป์
โดย
บริษัท อินนาเต คอร์ป จำกัด
ผู้นำเข้า ตู้ฟักไข่ รายใหญ่ของประเทศไทย
จำหน่ายทั้งปลีก-ส่ง ในราคาถูกที่สุด
รับสมัครตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ!!
สนใจสินค้าติดต่อ  
099-541-0228 , 096-260-9499
alphaproshop@gmail.com
LINE: alpha_pro
ตู้ฟักไข่ ตราไก่แชมป์
สุดยอดตู้ฟักไข่ อัตโนมัติ ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตในการฟักไข่ของท่าน
ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ และเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน








ทำไมถึงต้องใช้ตู้ฟักไข่ ?


  • มีสุดยอดพ่อพันธุ์ไก่ และแม่พันธุ์ไก่ที่ดี ผสมออกมา แต่แม่ไก่ไม่ยอมกกไข่
  • แม่ไก่ไข่ซ้อนกัน แย่งกันกก ไข่แตก ไข่ร้าว กินไข่
  • ไข่ไก่หาย โดนขโมยไข่ เกิดความเสียหาย
  • สภาพอากาศแปรปรวน ร้อนเกิน ชื้นเกิน หนาวเกิน ไข่ฟักไม่ออก
  • ตู้ฟักไข่มีอัตราความสำเร็จของการฟักที่สูงกว่าการฟักเองตามธรรมชาติ
  • ตู้ฟักไข่ตู้เดียวใช้แทนแม่ไก่ได้หลายตัว




คำถามที่พบ บ่อย จากการฟักไข่
ทำไมลูกไก่ ถึงขาถ่าง ขาแบะ?
ตอบ: เกิดจากอุณหภูมิที่ไม่คงที่ ขณะทำการฟักไข่ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ใช้ตู้ฟักหรือเครื่องฟักที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้คือ พื้นปูรองลื่นเกินไป วิธีแก้ปัญหาคือ ให้หาไหมพรม หรือเชือกนิ่ม ๆ มาผูกขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ไม่ให้ถ่างออก ทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วจึงแกะเชือกออก ลูกไก่จะมีอาการดีขึ้น
ทำไมลูกไก่จึงตายขณะเจาะเปลือก?
ตอบ: ปัญหานี้พบได้บ่อยครั้ง เนื่องจากความชื้นที่ไม่เหมาะสม ขณะทำการฟักไข่
ถ้าความชื้นมากเกินไป จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวเร็วกว่าปกติ ขนาดตัวจะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม สะดือไม่แห้ง ปิดไม่สนิท
ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง น้ำหนักตัวน้อย บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะ ติดกับเปลือกไข่ อาจทำให้ลูกไก่พิการได้
วิธีการเก็บไข่ก่อนนำเข้าฟัก ทำอย่างไร?
ตอบ: การฟักไข่โดยปกติ ควรจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจุตั้งแต่ 48-1,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่น ๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้จำนวนหนึ่ง ก่อน จึงนำเข้าตู้ฟักพร้อมกันทีเดียว เพื่อทำให้ลูกไก่เกิดเป็นชุด ๆ พร้อมกัน ในทางปฏิบัติเราจะรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุก ๆ 3-5 วัน โดยการเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 65 องศาฟา เรนต์ไฮ หรือ 18.3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80%
การอุ่นไข่ ก่อนนำมาฟัก หลังการเก็บไข่ในห้องเย็น ทำอย่างไร?
ตอบ: การอุ่นไข่ เป็นขั้นตอนการนำไข่ออกจากห้องเย็น มาไว้ในห้องอุ่นไข่ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิ จนอุณหภูมิที่ผิวฟองไข่ให้ใกล้เคียงอุณหภูมิในห้อง ถ้าอุณหภูมิสูงไม่เพียงพอ จะส่งผลทำให้อุณหภูมิภายในตู้ฟักลดต่ำลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฟัก
การอุ่นไข่จะพบปัญหาหยดน้ำมาจับที่ผิวเปลือกไข่ ซึ่งเกิดจากฟองไข่ที่เย็นกระทบกับความร้อนผสมกับความชื้นในอากาศ เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ และเกาะติดอยู่บริเวณผิวเปลือกไข่ กรณีที่มีเชื้อโรคที่ผิวไข่ หยดน้ำนี้ สามารถนำพาเชื้อโรคเข้าไปในไข่โดยวิธีการออสโมซิส ซึ่งจะทำให้ ประสิทธิภาพการฟักลดลง อาจเกิดปัญหาไข่เน่า หรือลูกไก่อ่อนแอฟักไม่ออก
การกลับไข่ ทำไปเพื่ออะไร?
ตอบ: การกลับไข่ระหว่างการฟักนั้น จะส่งผลให้มีการกระจายของอุณหภูมิและความชื้นบนฟองไข่แต่ละด้านสม่ำเสมอกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนติดเยื่อเปลือกไข่ นอกจากนั้นการกลับไข่ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสมดุลของการไหลของอากาศภายในตู้ และสิ่งที่สำคัญคือถาดพลิกไข่ จะต้องกลับไข่ทำมุม 45 องศากับแนวระนาบเสมอ
การจัดไข่ลงถาดพลิก ทำอย่างไร?
ตอบ: การจัดไข่ลงถาดเพื่อเข้าตู้ฟัก ให้เรียงไข่ตั้งด้านป้านขึ้นด้านบน ด้านแหลมหันลงข้างล่าง เนื่องจากปกติแล้วช่องอากาศของไข่จะอยู่ทางด้านป้าน และเชื้อลูกไก่จะลอยขึ้นข้างบนเสมอ ถ้าวางไข่โดยเอาด้านแหลมขึ้น ลูกไก่จะได้อากาศไม่เพียงพอ และมีโอกาสตายสูง
ลักษณะของไข่ ในวันที่ 7 ของการฟัก มีแบบใดบ้าง?
ตอบ: ลักษณะของไข่ที่มีเชื้อ 7 วัน จะเห็นเส้นเลือดสีแดงเป็นร่างแห เหมือนรากไม้ ตรงกลางเป็นจุดและเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เมื่อส่องเสร็จแล้วให้เอาเข้าตู้ฟักทันที
ลักษณะของไข่เชื้อตาย จะเห็นเป็นเส้นวงแหวน ไม่มีร่างแหแตกแขนง หรือมีจุดสีดำติดเปลือกไข่ ซึ่งในกรณีนี้ ควรนำไข่ใบนั้นออกจากตู้ฟัก เพื่อป้องกันการเน่าเสียของไข่
ลักษณะของไข่ไม่มีเชื้อ เมื่อส่องจะเห็นเป็นสีใสไม่มีเส้นเลือด ควรคัดลอกออกทันทีเมื่อพบ



แนะนำสินค้า

Special Credit : PoultryHub.org (Australia)
ขั้นตอนการใช้สินค้าอย่างละเอียด





ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

กระทู้ล่าสุด
  1. 37ทาร์ทาริกแอซิด, กรดทาร์ทาริก, Tartaric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  2. 40ฟอสฟอริกแอซิด, กรดฟอสฟอริก, Phosphoric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  3. 37มาลิกแอซิด, กรดมาลิก, Malic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  4. 35ฟูมาริกแอซิด, กรดฟูมาริก, Fumaric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  5. 42ซิตริกแอซิด, กรดซิตริก, กรดมะนาว, Citric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  6. 37แอสคอร์บิกแอซิด, กรดแอสคอร์บิก, Ascorbic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  7. 41อะซีติกแอซิด, กรดอะซีติก, Acetic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  8. 170ขี้เถ้าแกลบดำ
  9. 171ตาชั่ง รถบรรทุก6ล้อ หน้าเหล็ก ขนาด 2.5x5เมตร น้ำหนัก20ตัน อุปกรณ์ครบ จอ เครื่องปริ้นท์ ครบ พร้อมใช้งาน ราคา 99,000บาท โทร : 094-7899445 www.TractorM.com
  10. 175ตัดหญ้าสะพายหลัง KAWA มือสองญี่ปุ่น สภาพสวย เครื่องดี แรง ไม่จุกจิกไม่พังง่ายเหมือนของใหม่ เช็คให้พร้อมใช้งาน ราคา 3,500บาท รวมส่งฟรี โทร : 094-7899445 www.TractorM.com

www.farmthailand.com

GMT+7, 2024-11-25 01:31 , Processed in 0.064575 second(s), 22 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140101, Rev.29

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้