ตลาดเกษตร

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 4137|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เผยกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน

[คัดลอกลิงก์]

70

กระทู้

82

โพสต์

1093

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
1093
ลาดกระบัง (สจล.) เผยกลยุทธ์ สู่การเป็นศูนย์การบริหารการเกษตรอัจฉริยะของอาเซียน



อันได้แก่ สนับสนุนการสร้างคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการทางธุรกิจเกษตรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การใช้ปัจจัยนำเข้า การผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่าย, สนับสนุนการสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร (Food Chain), การรักษาความมั่นคงทางการเกษตรและอาหาร มีการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสุขภาวะที่ดี ขณะที่มีระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเหมาะสมกับฐานทรัพยากร และการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันโดยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ
ผศ.ดร. จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร คณบดีวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม มีการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก อาทิ ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีมูลค่าการส่งออกกว่า 200,000 ล้านบาท ประเทศมาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นอันดับหนึ่งของโลก ประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟได้เป็นอันดับสอง เป็นต้น
“จากวิกฤติการณ์บ้านเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้ราคาผลิตผลทางการเกษตรผันผวน ทำให้เกษตรกรไทยมีความสนใจและหันมาเพาะปลูกพืชพลังงานทดแทน แทนการเพาะปลูกพืชสำหรับการบริโภค เนื่องด้วยใช้ต้นทุนเท่ากันหรือต่ำกว่า แต่มูลค่าสินค้าสูงกว่า และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก อาทิ การปลูกยางพารา เนื่องด้วยราคายางพาราที่สูงกว่า และได้ผลผลิตตลอดทั้งปี แม้จะใช้ระยะเวลาในการปลูกนาน แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าที่จะได้รับนับว่าคุ้มค่ากว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการประกันราคาสินค้า ทำให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในราคาและหันมาปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น”
อ้อยก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เกษตรกรหันมาเพาะปลูกเป็นอย่างมาก เพราะการปลูก 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวได้ 3-4 ปี และใช้ประโยชน์จากอ้อยได้อย่างหลากหลาย ทั้งผลิตเป็นน้ำตาล ชานอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลก็สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน ทั้งนี้ในประเทศไทยมีเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกว่า 200 ล้านไร่ โดย 6 อันดับพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรของไทย ตั้งแต่ปี  2555– 2557 ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
ในภูมิภาคอาเซียนมีพื้นที่การเกษตรรวมมากกว่า 1,000 ล้านไร่ โดยทั้งภูมิภาคมีพืชเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรใกล้เคียงกัน อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์ม มะพร้าว ยางพารา ฯลฯ โดยในอนาคตโซนประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นกลุ่มประเทศสำคัญในการเป็นแหล่งเพาะปลูกสินค้าเกษตรที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้นจึงมีความต้องการที่จะใช้บุคลากรด้านความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อม และศักยภาพสูงสุดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านเกษตรกรรม
ประเทศไทยจึงควรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นศูนย์การเกษตรอัจฉริยะของอาเซียน เพื่อเป็นแหล่งองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การค้า การวิจัย ฯลฯ เกี่ยวกับการเกษตร โดยคาดว่าบุคลากรด้านการบริหารการเกษตรจะเป็นที่ต้องการในตลาดอาเซียนอย่างมาก เพื่อรองรับความต้องการของตลาดและประชากรโลกที่มีจำนวนกว่า 7,200 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 8,100 ล้านคน ภายใน 10 ปี.
..........................................................................
แนวคิด 4 ประการ ในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย รวมถึงเกษตรกรไทย ได้แก่
1. เร่งส่งเสริมให้ความรู้ด้านการบริหารและจัดการธุรกิจเกษตรให้กับเกษตรกร ที่ปัจจุบันมีกว่า  20 ล้านคน เพื่อสร้างแนวคิด และแนวทางในการบริหารจัดการให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการและดำเนินการทำเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของระบบตลาด ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอันจะเป็นที่ต้องการทั้งในภาคการบริโภค การผลิต ทั้งภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก
3. เน้นการพัฒนาคุณภาพและปริมาณของผลผลิต โดยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
4. สร้างมาตรฐานในการดำเนินงานการเกษตร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรสอดคล้องกับมาตรฐานของตลาดโลก

ที่มา :  เดลินิวส์ 30 ก.ค. 57 และ rubbernongkhai.com



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

กระทู้ล่าสุด
  1. 25ทาร์ทาริกแอซิด, กรดทาร์ทาริก, Tartaric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  2. 29ฟอสฟอริกแอซิด, กรดฟอสฟอริก, Phosphoric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  3. 26มาลิกแอซิด, กรดมาลิก, Malic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  4. 25ฟูมาริกแอซิด, กรดฟูมาริก, Fumaric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  5. 31ซิตริกแอซิด, กรดซิตริก, กรดมะนาว, Citric Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  6. 28แอสคอร์บิกแอซิด, กรดแอสคอร์บิก, Ascorbic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  7. 30อะซีติกแอซิด, กรดอะซีติก, Acetic Acid, เกรดอาหาร, วัตถุเจือปนอาหาร, Food Grade, Food Additive
  8. 162ขี้เถ้าแกลบดำ
  9. 160ตาชั่ง รถบรรทุก6ล้อ หน้าเหล็ก ขนาด 2.5x5เมตร น้ำหนัก20ตัน อุปกรณ์ครบ จอ เครื่องปริ้นท์ ครบ พร้อมใช้งาน ราคา 99,000บาท โทร : 094-7899445 www.TractorM.com
  10. 164ตัดหญ้าสะพายหลัง KAWA มือสองญี่ปุ่น สภาพสวย เครื่องดี แรง ไม่จุกจิกไม่พังง่ายเหมือนของใหม่ เช็คให้พร้อมใช้งาน ราคา 3,500บาท รวมส่งฟรี โทร : 094-7899445 www.TractorM.com

www.farmthailand.com

GMT+7, 2024-11-22 07:18 , Processed in 0.064656 second(s), 27 queries .

Powered by Discuz! X3.1 R20140101, Rev.29

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้