ผักหวาน โดยส่วนมากเรารู้จัดกันแต่ผักหวาน แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่ามีผักหวานกี่ชนิด
ซึ่งที่อร่อยและมีราคาแพงก็จะเป็น ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร
ส่วนที่พบโดยทั่วไปที่นำมาปลูกจะอยู่ที่ขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค
ยอดและใบอ่อนนิยมนำมาปรุงอาหารทั้งต้ม ผัด แกง เมื่อก่อนปลูกค่อนข้างยาก
เพราะเป็นพืชแบบอิงอาศัย อยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ จึงเก็บยอดมาจากป่าธรรมชาติเป็นหลักและมักจะแตกยอดดีหลังจากถูกไฟป่าเผาพื้นที่ป่า จึงมีการลักลอบเผาป่าเพื่อรอเก็บยอดผักหวานป่ากันบ่อยครั้งจนทำให้พื้นที่ป่าเสียหายวงกว้างในหลายพื้นที่
ต่อมาจึงมีการเพาะขยายพันธุ์แล้วนำมาปลูกในพื้นที่ของเกษตรกรแต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และมักจะมีการลักลอบขุดต้นตอจากป่ามาปลูก แต่มาในวันนี้สิ่งนี้กำลังได้รับการแก้ไขและดูจะประสบความสำเร็จเพราะมีหลายพื้นที่สามารถเพาะเมล็ดและปลูกในพื้นที่ราบได้ ดังที่ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่การเกษตรของนายฉาย เปรมปรีดิ์ ที่นำผักหวานป่ามาปลูกในพื้นที่แบบไร่นา
และประสบความสำเร็จเจริญเติบโตดีแตกกิ่งออกยอดมีทรงพุ่มสมบูรณ์
โดยส่วนมากเรารู้จักกันแต่ผักหวาน แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่ามีผักหวานกี่ชนิด รู้แค่ว่า รับประทานได้ อร่อยด้วย ซึ่งที่อร่อยและมีราคาแพงก็จะเป็น ผักหวานป่า พืชชนิดนี้จัดเป็นผักพื้นบ้านที่มีอายุยืนได้นับร้อยปี หลายปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ชาวต่างชาติก็เริ่มให้ความสนใจ ดูได้จากตัวเลขของการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน
จากที่ไม่เคยมีตัวเลขส่งออกเลยในอดีตด้วยผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีความปลอดภัยจากสารพิษ ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้นำไปประกอบอาหารให้รสชาติที่หวาน มัน กรอบ และอร่อย นอกจากนั้น ในทางโภชนาการพบว่า ผักหวานป่าอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ อาทิ สารเบต้า-แคโรทีน วิตามิน ซี และวิตามิน บี 2 ซึ่งนี่เองที่ทำให้ คุณลุงสังวาล เจริญสุข ปราชญ์ชาวบ้านผักหวานป่า ซึ่งเป็นเกษตรกรที่คลุกคลีกับต้นผักหวานป่ามาตั้งแต่เด็ก กินผักหวานป่ามาตั้งแต่จำความได้ และพบต้นผักหวานป่าขึ้นโดยธรรมชาติตามป่าในเขตพื้นที่ ตำบลสร่างโศก ปัจจุบันยังพบต้นผักหวานป่าที่มีอายุมากว่า 100 ปี ยังมีชีวิตอยู่และให้ผลผลิตที่ชาวบ้านสามารถเก็บเกี่ยวมาขายได้เป็นประจำทุกปีชาวบ้านในละแวกนี้ได้มีความพยายามที่จะขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่อยู่ในป่ามาปลูกในบริเวณบ้าน นำมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ทั้งที่ขุดต้นเล็ก ต้นใหญ่ นำมาปลูกหรือการนำเมล็ดมาเพาะงอก
ปรากฏว่าต้นที่ขุดมาปลูกนั้นจะตายทั้งหมดในเวลาต่อมา ในส่วนของเมล็ดที่มาเพาะมีอัตราการรอดตายบ้าง แต่กว่าที่จะค้นหาวิธีเพาะเมล็ด และนำมาปลูกให้รอดตายมากที่สุดได้ใช้วิธีค้นคิดและศึกษายาวนานพอสมควร ดังนั้น ปัญหาหลักของการขยายพื้นที่ปลูกผักหวานป่าในบ้านเราก็คือเรื่องของการขยายพันธุ์และการปลูกนั่นเอง หลายคนจึงมักจะบอกว่า ผักหวานป่า เป็นพืชที่ปลูกยาก แต่เมื่อปลูกเป็นต้นและไม่ตายแล้ว จัดเป็นพืชที่มีอายุยืนยาวมาก บางคนเรียกว่าพืชอมตะก็มีด้วย
ภาพและที่มาโดย : acfs.go.th ( สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ) |