ตลาดเกษตร
ชื่อกระทู้: วิธีการปลูกผักหวานป่า การปฏิบัติดูแล และ เพาะเมล็ดผักหวานป่าในพื้นที่ราบ [สั่งพิมพ์]
โดย: Nantana เวลา: 2014-7-28 04:18
ชื่อกระทู้: วิธีการปลูกผักหวานป่า การปฏิบัติดูแล และ เพาะเมล็ดผักหวานป่าในพื้นที่ราบ
ผักหวาน โดยส่วนมากเรารู้จัดกันแต่ผักหวาน แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่ามีผักหวานกี่ชนิด
ซึ่งที่อร่อยและมีราคาแพงก็จะเป็น ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร
ส่วนที่พบโดยทั่วไปที่นำมาปลูกจะอยู่ที่ขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค
ยอดและใบอ่อนนิยมนำมาปรุงอาหารทั้งต้ม ผัด แกง เมื่อก่อนปลูกค่อนข้างยาก
เพราะเป็นพืชแบบอิงอาศัย อยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ จึงเก็บยอดมาจากป่าธรรมชาติเป็นหลักและมักจะแตกยอดดีหลังจากถูกไฟป่าเผาพื้นที่ป่า จึงมีการลักลอบเผาป่าเพื่อรอเก็บยอดผักหวานป่ากันบ่อยครั้งจนทำให้พื้นที่ป่าเสียหายวงกว้างในหลายพื้นที่
ต่อมาจึงมีการเพาะขยายพันธุ์แล้วนำมาปลูกในพื้นที่ของเกษตรกรแต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และมักจะมีการลักลอบขุดต้นตอจากป่ามาปลูก แต่มาในวันนี้สิ่งนี้กำลังได้รับการแก้ไขและดูจะประสบความสำเร็จเพราะมีหลายพื้นที่สามารถเพาะเมล็ดและปลูกในพื้นที่ราบได้ ดังที่ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่การเกษตรของนายฉาย เปรมปรีดิ์ ที่นำผักหวานป่ามาปลูกในพื้นที่แบบไร่นา
และประสบความสำเร็จเจริญเติบโตดีแตกกิ่งออกยอดมีทรงพุ่มสมบูรณ์
โดยส่วนมากเรารู้จักกันแต่ผักหวาน แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่ามีผักหวานกี่ชนิด รู้แค่ว่า รับประทานได้ อร่อยด้วย ซึ่งที่อร่อยและมีราคาแพงก็จะเป็น ผักหวานป่า พืชชนิดนี้จัดเป็นผักพื้นบ้านที่มีอายุยืนได้นับร้อยปี หลายปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ชาวต่างชาติก็เริ่มให้ความสนใจ ดูได้จากตัวเลขของการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน
จากที่ไม่เคยมีตัวเลขส่งออกเลยในอดีตด้วยผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีความปลอดภัยจากสารพิษ ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้นำไปประกอบอาหารให้รสชาติที่หวาน มัน กรอบ และอร่อย นอกจากนั้น ในทางโภชนาการพบว่า ผักหวานป่าอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ อาทิ สารเบต้า-แคโรทีน วิตามิน ซี และวิตามิน บี 2 ซึ่งนี่เองที่ทำให้ คุณลุงสังวาล เจริญสุข ปราชญ์ชาวบ้านผักหวานป่า ซึ่งเป็นเกษตรกรที่คลุกคลีกับต้นผักหวานป่ามาตั้งแต่เด็ก กินผักหวานป่ามาตั้งแต่จำความได้ และพบต้นผักหวานป่าขึ้นโดยธรรมชาติตามป่าในเขตพื้นที่ ตำบลสร่างโศก ปัจจุบันยังพบต้นผักหวานป่าที่มีอายุมากว่า 100 ปี ยังมีชีวิตอยู่และให้ผลผลิตที่ชาวบ้านสามารถเก็บเกี่ยวมาขายได้เป็นประจำทุกปีชาวบ้านในละแวกนี้ได้มีความพยายามที่จะขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่อยู่ในป่ามาปลูกในบริเวณบ้าน นำมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ทั้งที่ขุดต้นเล็ก ต้นใหญ่ นำมาปลูกหรือการนำเมล็ดมาเพาะงอก
ปรากฏว่าต้นที่ขุดมาปลูกนั้นจะตายทั้งหมดในเวลาต่อมา ในส่วนของเมล็ดที่มาเพาะมีอัตราการรอดตายบ้าง แต่กว่าที่จะค้นหาวิธีเพาะเมล็ด และนำมาปลูกให้รอดตายมากที่สุดได้ใช้วิธีค้นคิดและศึกษายาวนานพอสมควร ดังนั้น ปัญหาหลักของการขยายพื้นที่ปลูกผักหวานป่าในบ้านเราก็คือเรื่องของการขยายพันธุ์และการปลูกนั่นเอง หลายคนจึงมักจะบอกว่า ผักหวานป่า เป็นพืชที่ปลูกยาก แต่เมื่อปลูกเป็นต้นและไม่ตายแล้ว จัดเป็นพืชที่มีอายุยืนยาวมาก บางคนเรียกว่าพืชอมตะก็มีด้วย
ภาพและที่มาโดย : acfs.go.th ( สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ )
โดย: Nantana เวลา: 2014-7-28 04:21
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Nantana เมื่อ 2014-7-28 04:24
การปฏิบัติดูแลต้นผักหวานป่า
เมื่อเริ่มปลูกผักหวานป่า คุณลุงสังวาล ได้บอกว่า ต้นผักหวานป่านั้นจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีการดูแลน้อยมาก จะมีการให้น้ำบ้างเมื่อพบสภาพความแห้งแล้งจริง จะมีการให้น้ำบ่อยครั้งขึ้นเฉพาะช่วงที่เก็บยอดขาย ปุ๋ยจะใส่เฉพาะปุ๋ยคอกโดยใส่ให้ปีละ 2 ครั้ง ใส่ครั้งแรกก่อนที่ต้นจะแตกยอดอ่อนและออกดอก และใส่อีกครั้งเมื่อเก็บยอดหมดแล้วในช่วงต้นฤดูฝนปุ๋ยคอกที่ใช้ควรมีการหมัก ดีแล้วใส่บริเวณรอบทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 ศอก
สำหรับ ปุ๋ยเคมีจะไม่ใส่เลย เนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น มีเกษตรกรบางรายได้ใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อต้องการจะเร่งยอด ปรากฏว่าใบร่วงและต้นตายในเวลาต่อมาการกำจัดวัชพืชจะทำในช่วงที่ฝนตกชุกและ เมื่อดูว่ารกจริงๆ เท่านั้น คุณลุงสังวาลไม่แนะนำให้ใช้จอบถากหญ้า เพราะอาจจะไปกระทบกับรากของต้นผักหวานป่าได้ ในขณะเดียวกันหลังจากที่ปลูกต้นผักหวานป่าไปแล้วจะต้องไม่พรวนดินอย่างเด็ด ขาด คุณลุงสังวาลได้เน้นว่าถ้าไม่จำเป็นอย่าไปยุ่งในส่วนของรากผักหวานป่า ซึ่งเมื่อต้นผักหวานป่าโตเต็มที่รากจะแผ่กระจายไปทั่ว ในส่วนของโรคและแมลงจากประสบการณ์การปลูกผักหวานป่าของคุณลุงสังวาลพบว่ามี น้อยมาก และไม่ได้เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปลูกผักหวานป่า หรือพูดง่ายๆ เลยคือว่า ปลูกผักหวานป่าแทบจะไม่ใช้สารฆ่าแมลงและสารกำจัดเชื้อราเลย ปลูกผักหวานป่าแบบอินทรีย์ พืชชนิดนี้จัดเป็นการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริงที่ให้ผลผลิตและงอก งามดียิ่ง
โดย: Nantana เวลา: 2014-7-28 04:21
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Nantana เมื่อ 2014-7-28 04:23
ผักหวานป่านอกฤดู
ปัจจุบัน คุณลุงสังวาลมีพื้นที่ปลูกผักหวานป่า ประมาณ 7 ไร่ แทบทั้งหมดปลูกอยู่ในสวนผลไม้เก่า ซึ่งแต่เดิมเคยปลูกชะอมและน้อยหน่า แต่ทำรายได้สู้การปลูกผักหวานป่าไม่ได้ จึงเปลี่ยนมาปลูกผักหวานป่าทั้งหมด ทยอยปลูกทุกปี ปัจจุบันปลูกไปแล้วกว่า 1,000 ต้น ต้นที่มีอายุมากที่สุด มีอายุได้ 20 ปี หลายคนยังคงไม่ทราบว่าราคาผักหวานป่าในช่วงปีใหม่เดือนมกราคมจะมีราคาแพงมาก เพราะเป็นผักหวานป่าที่ออกนอกฤดูที่สวนผักหวานป่าของคุณลุงสังวาลจะแบ่ง จำนวนต้นเพื่อผลิตนอกฤดู เราสามารถกำหนดการแตกยอดของผักหวานป่าได้ วิธีการคือ การตัดแต่งกิ่งผักหวานป่าทั้งต้นเพื่อเป็นการกระตุ้น โดยจะรูดใบแก่บนต้นออกเกือบทั้งหมดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ให้เหลือใบติดกิ่งอยู่บ้างแต่น้อยมาก หลังจากนั้นให้หักกิ่งแขนงออกครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง
ถ้า หักกิ่งยาวเกินไป ยอดอ่อนที่แตกออกมาจะไม่สวย ผอม รวมถึงออกยอดน้อย หลังจากที่ตัดแต่งกิ่งเสร็จจะต้องให้น้ำอย่างน้อย 3-5 วัน ต่อครั้ง (ช่วงนั้นเป็นช่วงฤดูหนาว ฝนไม่ตก) ก่อนหน้าที่จะตัดแต่งกิ่งประมาณ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยคอก เมื่อถึงช่วงปีใหม่เดือนมกราคม ผักหวานป่าจะแตกยอดอ่อนออกมาให้เก็บขายได้โดยจะมียอดอ่อนให้เก็บทุกๆ 7 วันบางปีผักหวานป่าที่เก็บขายในช่วงปีใหม่มีราคาสูงกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท บางปีขายได้ถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ก็มีได้ราคาดีมาก
ต้นผักหวานป่านอกฤดูที่เก็บเกี่ยวหมดแล้ว เราควรจะพักต้นเลยและบำรุงปุ๋ยคอกและให้น้ำเพื่อไปผลิตนอกฤดูในฤดูกาลปีหน้า ต่อไป สำหรับต้นผักหวานป่าที่เหลือปล่อยให้ออกในฤดูช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งจะขายได้ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 40 บาท ถึงแม้จะขายได้ราคาที่ต่ำกว่า แต่ได้ผลผลิตมากที่สำคัญคุณลุงสังวาลสามารถผลิตผักหวานป่าขายได้ปีละ 3 เดือน คือ เดือนมกราคม-มีนาคม และทำรายได้ดีกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ผลิตเป็นผักปลอดสารพิษ เพราะไม่เคยใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเลยเป็นที่สังเกตว่า ในการปลูกผักหวานป่าของคุณลุงสังวาลจะใช้แรงงานในครัวเรือนซึ่งมีเพียง 2 ตายายที่เก็บยอดขายเท่านั้น จะจ้างแรงงานเข้ามาเพิ่มเติม 1-2 คน ช่วงที่ผลผลิตชุกเท่านั้น
ภาค รัฐคือ ทางอำเภอบ้านหมอร่วมกับ สนง.เกษตรอำเภอบ้านหมอ และองค์กรส่วนท้องถิ่นได้มีการประชาสัมพันธ์การปลูกผักหวานป่ามาอย่างต่อ เนื่องด้วยการจัดงาน เทศกาลผักหวานป่าไร้สารพิษ ติดต่อกันมาถึงปีนี้ พ.ศ. 2548 รวม 4 ปี ซึ่งจัดเสร็จสิ้นไปแล้วระหว่าง วันที่ 25-27 มีนาคมที่ผ่านมา มีเกษตรกรและผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และเป็นกิจกรรมทางการเกษตรที่น่าส่งเสริมและให้การสนับสนุนตลอดไป
เพาะเมล็ดผักหวานป่าให้รอดตายทั้งหมด
คุณลุงสังวาล ได้อธิบายถึงวิธีการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เริ่มต้นจากการคัดเลือกเมล็ดผักหวานป่าควรจะคัดเลือกเก็บเกี่ยวจากต้นที่มี อายุมากๆ ส่วนใหญ่จะได้เมล็ดที่มีความสมบูรณ์และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง ธรรมชาติของการออกดอกติดผลของต้นผักหวานป่าจะคล้ายกับลางสาดที่ออกตามลำต้น ผลจะเป็นพวง เมื่อผลสุกจะมีสีเหลือง
ขั้น ตอนในการเพาะจะเริ่มจากนำผลผักหวานป่าที่สุก (ดูจากสีผลมีสีเหลือง) โดยปกติผลจะแก่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เมื่อเก็บเมล็ดมาแล้วควรจะเพาะทันที แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้ง (ในขณะที่แยกเนื้อควรใส่ถุงมือ เพราะมียางที่เปลือก) ขัดล้างเมล็ดให้สะอาดจนมีสีขาว นำเมล็ดไปแช่น้ำ แยกเมล็ดที่สมบูรณ์ไว้ (เมล็ดที่สมบูรณ์จะจมน้ำ ส่วนเมล็ดที่ลอยน้ำควรแยกทิ้ง) หลังจากนั้น นำเมล็ดมาบ่มเพาะให้เกิดการงอกเสียก่อน โดยนำมาเพาะในขี้เถ้าดำ โปรยเมล็ดผักหวานป่าให้ทั่วและกลบด้วยขี้เถ้าแกลบหนาประมาณ 1 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่มติดต่อกัน 4-5 วัน มาคุ้ยดูเลือกเมล็ดที่กำลังงอก (สังเกตเปลือกเมล็ดจะเริ่มแตกร้าว)
โดย: Nantana เวลา: 2014-7-28 04:22
วัสดุเพาะเมล็ด
ถ้าจะให้ผลดีนั้น คุณลุงสังวาลบอกว่า ควรใช้ส่วนผสมของ ดินลูกรัง, ทรายหยาบ และปุ๋ยคอก (หรือใช้ใบไม้ผุ) ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 กรอกดินผสมลงในถุงดำ (ถ้าจะเก็บต้นกล้าไว้ปลูกนานๆ ควรใช้ถุงดำทรงสูง) นำเมล็ดที่งอกหยอดใส่ลงในถุง ควรหาไม้แทงนำก่อนเอาส่วนที่งอกเป็นรากลงอย่าให้รากหัก แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่มรำไร ช่วงที่ดูแลต้นกล้าจะต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นและอย่าให้ขังแฉะ ต้นกล้าผักหวานที่มีอายุ 2 เดือนครึ่ง จะมีความสูงเฉลี่ย 5-10 เซนติเมตร เท่านั้น และเมื่อนำไปปลูกเมื่อต้นมีอายุได้ 1 ปี ต้นจะสูงเพียง 1 ฟุต เท่านั้น ซึ่งจัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้ามาก ผู้ปลูกจะต้องใจเย็นและไม่เร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเด็ด ขาด
คุณ ลุงสังวาล ยังแนะนำสำหรับผู้ที่จะปลูกผักหวานป่าควรจะซื้อต้นกล้าที่ไม่ได้เพาะมาค้าง ปี เนื่องจากจะพบปัญหารากขาดเมื่อนำไปปลูกรากจะฉีกขาด จะทำให้ต้นตายในเวลาต่อมา คุณลุงสังวาล บอกว่า มีเกษตรกรในเขตตำบลสร่างโศกหลายรายจะปลูกต้นผักหวานป่าด้วยการนำเมล็ดไปหยอด ในแปลงปลูกเลย เพื่อตัดปัญหาเรื่องผลกระทบต่อราก แต่จะต้องหมั่นรดน้ำให้ต่อเนื่อง 2-3 เดือนก่อนที่ยอดจะโผล่พ้นดิน
สำหรับ วิธีการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการตอนกิ่งซึ่งพบความสำเร็จน้อยมาก ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้พยายามค้นหาตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบ ความสำเร็จในการตอนกิ่งผักหวานป่าได้พบเกษตรกรรายหนึ่งคือ คุณรับ พรหมมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ได้ใช้กะปิแทนยาเร่งรากด้วยการนำกะปิมาผสมกับน้ำให้พอข้นๆ (ทากิ่งแล้วติดไม่หลุด) วิธีการตอนเหมือนกับการตอนต้นไม้ทั่วๆ ไป วัสดุตอนใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ ก่อนอัดลงถุงกิ่งที่จะเลือกตอนควรเป็นกิ่งที่ไม่แก่และอ่อนเกินไป เป็นกิ่งที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1-2 ปี มีสีขาวออกน้ำตาล (ถ้าตอนกิ่งแก่จัดรากจะออกไม่ค่อยดี) เช่นกันเมื่อกิ่งตอนออกรากขณะที่ตัดกิ่งลงมาชำจะต้องระวังเรื่องรากอย่าให้ กระทบกระเทือน
วิธีสังเกตว่ารากออกดีหรือยัง
จะต้องดูที่สีของรากที่ออกมาจากการตอนรากที่ออกมาครั้งแรกจะมีสีขาว เมื่อรากเปลี่ยนเป็นสีเขียวและเป็นสีน้ำตาลให้ตัดกิ่งตอนมาชำได้ เมื่อนำกิ่งตอนไปปลูกอาจจะมีเทคนิคการปลูกที่แตกต่างจากการปลูกด้วยต้นเพาะ เมล็ด ก่อนปลูกจะต้องปักหลักมัดกับต้นเพื่อป้องกันลมพัดโยก
ปัจจัยในการงอกของต้นผักหวานป่า
คุณ ลุงสังวาล ได้เล่าประสบการณ์ของการปลูกผักหวานป่ามานานกว่า 20 ปี ว่านิสัยของต้นผักหวานป่าจะชอบพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร ประมาณ 50% เจริญเติบโตดีในร่มไม้ใหญ่ เช่น ร่มจากต้นมะขามเทศ สะเดา ฯลฯ แต่ถ้าจะปลูกในที่โล่งแจ้งจะต้องปลูกไม้พี่เลี้ยงไว้ข้างๆ หลุมปลูกเพื่อเป็นร่มเงาให้ เช่น ปลูกพริก มะเขือเปราะ ชะอม ฯลฯถ้าเป็นไปได้ไม้พี่เลี้ยงควรปลูกจนต้นผักหวานป่ามีอายุได้อย่างน้อย 2 ปีในขณะเดียวกันจะรู้นิสัยของต้นผักหวานป่าชอบอากาศร้อน จะช่วยให้แตกยอดดี โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ต้นจะแตกยอดให้เก็บขายได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนยอดจะหมดและพักต้นเพื่อสะสมอาหารเพื่อแตกยอดใหม่ในฤดู กาลต่อไป
ขอบคุณ คุณลุงสังวาล เจริญสุข บ้านเลขที่ 74 หมู่ 3 ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โทร. (036) 300-385
ยินดีต้อนรับสู่ ตลาดเกษตร (http://www.farmthailand.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.1 |