2. อุณหภูมิภายใน : อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการฟักไข่ คือ 37.8 องศาเซลเซียส สำหรับการเกิด คือ 36.7 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในตู้ฟักไข่จะต้องกระจายทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในระบบนี้ คือ ชุดควบคุมการทำความร้อน(เทอร์โมสตัท) และตัวทำความร้อน(ฮีทเตอร์) ซึ่งตัวทำความร้อนจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของตู้ฟักไข่ หากไม่เหมาะสมจะทำให้อุณหภูมิที่ได้นั้นความคลาดเคลื่อน ** ขนาดของตัวทำความร้อนต่อปริมาตรภายในของตู้ ควรมีสัดส่วนที่ประมาณ 249 ถึง 299 วัตต์ต่อลูกบาศก์เมตร **
3. ความชื้นสัมพัทธ์ :
3.1 สำหรับการฟัก - ความชื้นเหมาะสมที่ที่ ระดับ 58 - 60%
3.2 สำหรับการเกิด - ความชื้นเหมาะสมที่ ระดับ 60 - 63%
ความชื้นภายในตู้จะต้องกระจายทั่วถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดความชื้น คือ ถาดน้ำ
การควบคุมระดับความชื้นสามารถปรับได้ด้วย ช่องดูดหรือช่องระบายอากาศ
- หากปริมาณน้ำมาก ความชื้นจะสูงขึ้น - หากปริมาณน้ำน้อย ความชื้นจะลดลง
- หากอุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นจะเพิ่มขึ้น - เมื่ออุณหภูมิลดลง ความชื้นจะลดลง
- ถ้าอากาศเข้า-ออกน้อย ความชื้นจะเพิ่มขึ้น - ถ้าอากาศเข้า-ออกมาก ความชื้นจะปรับตัวลดลง
** โดยความชื้นจะแปรผันตามปริมาณน้ำ อุณหภูมิจะแปรผกผันกับปริมาณอากาศที่เข้า-ออก **
4. การกลับไข่ :
- ไข่ที่ฟักตั้งแต่วันที่ 1-18 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการกลับไข่หรือพลิกไข่ ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 7 ครั้ง เพื่อให้กระบวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และเนื้อเยื่อไม่ติดที่ผนังไข่ทำให้ใกล้เคียงกับการฟักตามธรรมชาติมากที่สุด
- วันที่ 18-21 ต้องนำไข่ฟักไปไว้ในถาดเกิด ช่วงเวลานี้จะไม่มีการกลับไข่ เพราะตัวอ่อนเติบโตเต็มที่แล้วและเป็นช่วงที่ตัวอ่อนต้องการความนิ่งในการหาที่เพื่อเจาะเปลือกไข่
แต่หากท่านสนใจการเกษตร เลี้ยงฟักไก่ เป็ด ห่าน หรือสัตว์ปีกแล้วไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ลองมาดูที่
เพื่อผลผลิตที่ดี และได้อย่างรวดเร็ว ✔ ❤