สำหรับวันนี้ผมมีเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับพันธุ์ที่กำลังได้รับความนิยมอีกหนึ่งพันธุ์ นั่นก็คือข้าวหอมนิล ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับชาวนาไทยไม่น้อย แต่น่าเสียดาย ที่พันธุ์ข้าวพันธุ์นี้ยังไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อาจเป็นเพราะว่ายังไหม่อยู่ก็ได้ครับ
ใครที่ยังไม่รู้จักข้าวหอมนิล ไปดูลักษณะภายนอกกันเลยครับ รูปลักภายนอกของข้าวหอมนิล ลำต้นสีเขียว สูงประมาณ 75 เซ็นติเมตร ระยะเวลาจากการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลา ประมาณ 100 วัน เมล็ดข้าวมีสีมวงดำ ความยาวประมาณ 6-7 เซ็นติเมตร ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้วได้ดี
วิธีการทำนาข้าวหอมนิล ทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมทำกันให้หาดูกันได้ง่ายก็คือ นาดำ นาหว่าน และ นาโยนกล้า ส่วนใหญ่จะเป็นนาโยนกล้า
ขั้นตอนแรกก็ไม่ต่างจากการทำนาข้าวทั่วไป นั่นก็คือการไถเตรียมดิน กลบวัชพืชให้เน่าและกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นข้าว(ภาษาอีสานเรียกไถนาฮุด)
ข้นตอนที่ 2 เตรียมต้นกล้า ถ้าหากเป็นการปลูกข้าวแบบดำ ก็ให้ทำการเตรียมต้นกล้าใช้เวลา1-2 เดือน หรือจนกว่าต้นกล้าจะพร้อมที่จะปักดำลงสู่ผืนนา แต่ถ้าหากเป็นการทำนาแบบโยน หรือหว่านขั้นตอนนี้ก็จะต่างออกไป
- การหว่าน สามารถหว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วข้ามขั้นตอนการปักดำไปได้เลย
- การโยนกล้า ขั้นตอนจะคล้ายๆกับการทำนาแบบปักดำ แต่อายุต้นกล้าที่ใช้จะสั้นกว่า แบบปักดำนิดหน่อยครับ
ขั้นตอนที่ 3 การปักดำ ซึ่งถ้าเป็นการทำนาแบบหว่า หรือโยนก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยครับ หลักสำคัญของการปักดำก็คือ ให้ตัดใบอ่อนของต้นกล้าออกเพื่อลดการคลายน้ำ ซึ่งจะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรงได้เร็วหลังจากปักดำ ระยะห่างระหว่างต้นกล้าอยู่ที่ไม่เกิน 1 ฟุน ปักดำแบบสลับฟันปลานเป็นแถว ซึ่งระยะห่างเท่านี้จะช่วยให้ต้นกล้าแตกกอได้ดี โตเร็ว
ขั้นตอนที่ 4 กำจัดวัชพืช ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีวัชพืชแตกต่างกันออกไป ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีนะครับ อาจใช้วิธีการถอนด้วยมือจะดีกว่า
ขั้นตอนที่ 5 กำจัดศัตรูพืช แนะนำให้ใช้วิธีการทางธรรมชาติซึ่งมีอยู่หลายวิธีเช่น ใช้สัตว์กำจัดสัตว์ที่เป็นศัตรูพืช หรือใช้พวกสมุนไพรก็สามารถทำได้
ขั้นตอนที่ 6 เก็บเกี่ยว อายุในจากการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 100 วัน หรือจากเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม จะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพ
เมื่อหุงสุขแล้วจะมีกลิ่นหอมเหมือนกับข้าวหอมมะลิ มีสีม่วงดำ ถ้าหากเป็นข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5% ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70% ปริมาณ amylose 16% และยังประกอบไปด้วย ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิอีกด้วยครับ นอกจากนี้ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมลต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามิน E ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเล็งได้ดี