Home / การปลูกพืช / วว.ประกาศความสำเร็จ ถอดรหัสนวัตกรรมจุลินทรีย์เพื่ออนาคตถึง 2 โครงการใหญ่ ICPIM และ BCG Model ผลักดันอุตสาหกรรมชีวภาพ

วว.ประกาศความสำเร็จ ถอดรหัสนวัตกรรมจุลินทรีย์เพื่ออนาคตถึง 2 โครงการใหญ่ ICPIM และ BCG Model ผลักดันอุตสาหกรรมชีวภาพ

วว.ประกาศความสำเร็จ ถอดรหัสนวัตกรรมจุลินทรีย์เพื่ออนาคต 2 โครงการใหญ่ ICPIM และ BCG Model ผลักดันอุตสาหกรรมชีวภาพ สร้างแต้มต่อเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรของประเทศไทย

หน้าปกบทความ-วว.ประกาศความสำเร็จ_Aug2021

ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่า โครงการ IC Pim เทรนด์สินค้าและอาหาร สามารถตอบโจทย์ต่อกลุ่มผู้บริโภคในส่วนของอาหารเพื่อสุขภาพ  เช่น โพรโบโอติก และ ออร์แกนิค

ตามที่ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (Innovative Center for Production of Industrially Used Microorganisms: ICPIM) ภายใต้การกำกับดูแลของวว.ซึ่งขณะนี้ วว. สามารถพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตจุลินทรีย์โพรไบโอติกคุณภาพสูง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่โดดเด่นได้ถึง 15 สายพันธุ์ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการดำเนินงานของ ICPIM ได้นำความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์กว่า 10,000 ชนิด มาพัฒนาขยายผลในระดับห้องปฎิบัติการ ด้วยกระบวนการคัดสรรจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารมาพัฒนาให้เป็นโพรไบโอติกได้ถึง 15 สายพันธุ์ จาก 24 สายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร อาหารเสริม และเสริมความงามทั่วโลกซึ่งได้รับอนุมัติใบอนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่ผลิตประเภทวัตถุเจือปนอาหารจากองค์การอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว

นอกจากจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะมีประโยชน์โดยตรงในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดีขึ้น ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารในการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายประเภท เช่น น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ น้ำตาลสุขภาพ เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม ฯลฯ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีขึ้น และด้วยก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ยังสามารถพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติกให้มีคุณสมบัติเป็นทางเลือกใช้ป้องกันการเกิดโรค หรือใช้ควบคู่กับการรักษาได้อีกด้วย

pfJzQH_g

ความสำเร็จของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (InnoAg) BCG Model พลิกโฉมเกษตรกรรมด้วยชีวจุลินทรีย์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปลดล็อกเศรษฐกิจไทย อัปเกรดสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดโลก 

       ตามที่โครงการ BCG model เศรษฐกิจสีเขียว ใส่ใจสิ่งแวดล้อม Circular Economy โดยการนำสารชีวภัณฑ์มาใช้ในภาคการเกษตร ซึ่งต้องใช้นวัตกรรมเข้าไปช่วย โดยวว.ได้พัฒนาผลิตชีวภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ และส่งต่อให้เกษตรกรได้ใช้ โดยเลือกจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพราะมีการปลูกทั้งพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก รวม 7 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง กล้วย ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม และ มะนาว

โดย 3 กิจกรรมหลักของวว.ในโครงการ BCG model ได้แก่

1. การการผลิตพืชรูปแบบเกษตรใหม่ ลดต้นทุน ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตทางการเกษตร

3. การแปรรูป พัฒนาบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติจากขยะเหลือทิ้งทางการเกษตร สร้างโอกาสและเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ

และพบว่าเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน คือ

  • ปัญหาที่ดินทำกิน การเข้าถึงทรัพยากรน้ำ เกษตรกรรายย่อยขาดศักยภาพการผลิต
  • การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง เกิดการตกค้างในสภาพแวดล้อม ในดิน รวมถึงตกค้างในผลผลิต
  • ปัญหาด้านการตลาด – การส่งออกพืชผลทางการเกษตร ราคาผลผลิตตกต่ำ

ซึ่งเกษตรกรสนใจพัฒนาการเกษตรเพื่อสุขภาพเป็นอย่างดี  เพราะต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น โดยผู้ประกอบการต้นน้ำ มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน กลางน้ำ ได้นำเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร แปรรูปได้มากขึ้น และปลายน้ำ นำวัสดุเหลือทิ้งนำมาใช้ประโยชน์ และยังมีการทำงานกับภาคเอกชน เพื่อขยายผล เช่น การทดลองหยอดข้าวแบบแห้ง ในจังหวัดชัยนาท ซึ่งผลตอบรับดีมาก

ผลสัมฤทธิ์เกินความคาดหมาย พลิกโฉมเกษตรกรของไทย สู่ Smart Farmer   

ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของนักวิจัยไทย ร่วมกับเกษตรกรและหน่วยงานสนับสนุนในท้องถิ่น ทำให้โครงการฯ นี้ประสบความสำเร็จ โดย

  • มีกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต Functional Food และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 163 ราย
  • เกษตรกร / วิสาหกิจชุมชน สามารถสร้างปัจจัยการผลิตได้จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์
  • สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่าใหม่ได้จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์
  • มีผู้ประกอบการสนใจร่วมลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ภายใต้ BCG โมเดล จำนวน 6 ราย
  • สามารถสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Non Food) และผสานแนวคิด Green Technology

Rf-xjKcg

ซึ่งเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจที่ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ทางการเกษตรของสถาบัน สามารถช่วยยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรไทยในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตได้หลากหลายรูปแบบยิ่งขึ้น ดีขึ้นทั้งในแง่ปริมาณ คุณภาพ ความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สร้างรายได้ให้แก่เกษตรเพิ่มขึ้น

นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างเกษตรกรคุณภาพรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของชาติด้วย BCG โมเดล เพื่อเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

╔═══════════════════════════════════════════════════════════╗

ระบบสมาร์ทฟาร์มที่เสถียรที่สุดในไทยและราคาย่อมเยาที่สุดตอนนี้ ต้อง FarmPress จากฟาร์มไทยแลนด์

สามารถดาวน์โหลดแอพ FarmPress มาทดลองใช้ฟรี ที่

Android https://bit.ly/35yWtBN​

ios https://apple.co/3kBAJJE​

สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-1054747 , 097-9624288 ไลน์ @farmthailand

╚═══════════════════════════════════════════════════════════╝

Comments

comments

About Little grass

Avatar
" น้องกอหญ้าสดใส หัวใจรักเกษตร "

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง