ปี2021 นี้ยังเป็นปีที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสำหรับเทรนด์ Internet of things (IoTs) ซึ่งเป็นการที่อุปกรณ์ทุกอย่างในชีวิตประจำวันถูกเชื่อมการทำงานเข้าด้วยกันด้วยการใช้อินเตอร์เน็ต สำหรับฟาร์มไทยแลนด์สิ่งจะขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือบอร์ด Farmpress ของเราที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้อำนวยความสะดวกให้คนทำธุรกิจด้านการเกษตรได้เป็นอย่างดี
หากไม่นับเรื่อง Covid 19 แล้ว คงหนีไม่พ้นเทคโนโลยี IoTs นี่แหละที่เป็นที่น่าจับตามองที่สุดในศตวรรษ เพราะหลายๆภาคส่วนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้กันแล้วในเกือบจะทุกสิ่ง ส่งผลต่อกิจวัติประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งรายงานว่าในปี 2021 นี้จะมีอุปกรณ์ที่นำเทคโนยี IoTs มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 35 หมื่นล้านอุปกรณ์ และ 75.44 หมื่นล้านอุปกรณ์ภายในปี 2025
ตัวเลขด้านบนชี้ให้เห็นว่าการนำประโยชน์จากเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาใช้มีบทบาทอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะกับสภาวะแวดล้อมรอบตัวหรือภาคธุรกิจเองที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับสถาการณ์โลกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือการเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกันก็สร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตได้ง่ายๆจากการใช้งานเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้นเอง
มาดูกันว่าเทคโนโลยี IoTs จะเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจในปี 2021 อย่างไร
- การเชื่อมต่อ
เทคโนโลยีที่มีพื้นฐานจาก IoTs ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจให้มีความทันสมัยมากขึ้น มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกันซึ่งระบบเองก็จะต้องมีความรวดเร็วและเสถียรให้ตอบรับกับอุปกรณ์ต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็น Cellular satellite Wi-Fi Bluetooth รวมไปถึงระบบเซนเซอร์ต่างๆด้วย
- บทบาทของการวิเคราะห์ข้อมูล
การทำงานของ IoTs จะขึ้นอยู่กับข้อมูลหรือ data ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องถูกนำมาวิเคราะห์และทำให้กลายเป็นสื่อสารสนเทศที่นำมาใช้ได้ การใช้ประโยชน์การการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากอุปกรณ์จะทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้งานมากและง่ายขึ้น รวมถึงผู้ใช้เองก็สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ และรวดเร็ว นอกจากนี้ธุรกิจก็สามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงกลยุทธ์ในการขายเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้
- ความปลอดภัย
เทคโนโลยี IoTs แม้ว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามความกังวลเรื่องความปลอดภัยก็ยังเป็นเรื่องต้นๆที่ผู้ใช้หลายคนคิดถึง จึงจำเป็นที่หลายภาคส่วนที่นำ IoTs มาใช้จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้รับข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ก็ต้องมีระบบที่เสถียร ปลอดภัย และน่าเชื่อถือเข้ามารองรับเพื่อลดปัญหาทางความมั่นคงทางไซเบอร์ และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยี
- คาดการณ์ความเสียหาย
เทคโนโลยี IoTs ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจในด้านการคาดเดาความเสียหาย หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดต่างๆ ซึ่งก็คาดการณ์จากข้อมูลที่รวบรวมได้จากเซ็นเซอร์อัลตราโซนิกและการสั่นสะเทือนที่ติดตั้งไว้ ซึ่งส่วนนี้มีประโยชน์มากโดยเฉพาะกับธุรกิจที่ต้องมีการผลิตเพื่อส่งผลผลิตออกสู่ตลาด รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง คลังสินค้า สุภาพ และการเกษตร
- วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoTs
การใช้งานและกรณีศึกษาจาก IoT ได้เกิดขึ้นอย่างท่วมท้นในปัจจุบัน มีการใช้งานในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเมืองอัจฉริยะ เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ การเซทระบบในอุตสหากรรม และบ้านอัจฉริยะ หรืออื่นๆ ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้อย่างแพร่หลายมีส่วนในการตัดสินใจทำธุรกิจของผู้ประกอบเป็นอย่างมาก
- การบริหารจัดการแรงงาน
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยี IoTs จะทำให้การผลิตเป็นไปได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามทรัพยากรมนุษย์ก็ยังนับว่าเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ถึงอย่างนั้นการบริหารคนอาจเป็นเรื่องที่ท้าท้าย แต่เทคโนโลยี IoTs ก็สามารถลดความยุ่งยากตรงนี้ได้เนื่องจากมีการใช้การกำหนดการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และคลาวด์คอมพิวติ้งที่เหมือนกัน พูดให้ง่ายขึ้นอีกก็คือเราสามารถใช้ซอฟต์แวร์ผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อเลือกกำลังการประมวลผล หรือเลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งานของเรา ซึ่งก็จะส่งผลต่อไปยังการคำนวนต้นทุน แรงงาน ให้เกิดผลกำไรในการดำเนินธุรกิจต่อไป
- บล็อคเชน
เทคโนโลยี IoTs ในขณะเดียวกันนั้นก็มีความเสียงต่อการละเมิดความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เทคโนโลยีบล็อคเชนจึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้โดยทำหน้าที่รักษาข้อมูลของผู้ใช้งาน IoTs ให้ปลอดภัยซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นแบบเครือข่ายใยแมงมุมที่ต้องอาศัยรหัสทางคอมพิวเตอร์ในการเข้าถึง และด้วยเหตุนี้เองทำให้บล็อคเชนสามารถผลิกโฉมระบบการเก็บข้อมูลให้มีความปลอดภัยมากกว่าเดิม ทำงานได้โดยปราศจากผู้ดูแลคนกลาง ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีความถูกต้อง แม่นยำและที่สำคัญยังโปร่งใสและตรวจสอบได้โดยสมาชิกเครือข่ายเอง
- การประมวลผลที่ต้นทาง
จุดด้อยอย่างหนึ่งของ IoTs คือข้อจำกัดด้านพื้นที่เก็บข้อมูล การนำการประมวลผลที่ต้นทาง หรือ Edge computing มาใช้นอกจากจะทำให้สามารถประหยัดต้นทุนได้แล้ว ยังทำให้ข้อมูลที่เก็บจากอุปกรณ์ถูกประมวลผลโดยตรงซึ่งไม่ต้องส่งไปแหล่งอื่นอันจะทำให้เกิดค่าจ่ายที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
- เทคโนโลยี Digital Twins
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI, Machine Learning และ IoT มาสร้างฝาแฝดดิจิทัลทำให้เกิดประโยชน์หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจำลองวัตถุทางกายภาพ กระบวนการ หรือแม้แต่ระบบ ที่สามารถทำให้ออกมาเหมือนต้นแบบมากที่สุดทั้งในแง่คุณสมบัติและพฤติกรรม นอกจากนี้ยังสามารถอัพเดทความเปลี่ยนแปลงตามคู่ของตนเองได้ตลอด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาและมีแนวโน้มอย่างมากที่สิ่งนี้จะกลายเป็นเสาหลักสำคัญของการผลิตอัจฉริยะในอนาคต
- ความต้องการใช้นวัตกรรมบ้านอัจฉริยะจะเพิ่มขึ้น
เมื่อคิดถึงบ้านที่สามารถรดน้ำต้นไม้เองได้ ไฟเปิดเองได้ ตั้งเวลาเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆให้ทำงานตามใจเรา หลายๆคนคงคิดถึงความสะดวกสบาย และความปลอดภัย ที่ได้รับจากเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างมาก ความต้องการในการใช้เทคโนโลยีนี้จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะเราสามารถนำ IoTs มาเชื่อมกับการสั่งงานด้วยเสียง AI AR หรือ VR ที่เรารู้จักกันดีก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย
อ้างอิงและเรียบเรียงจาก: